สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นไทรใบสัก ไม้ประดับใบสวย

ต้นไทรใบสัก ไม้ประดับที่มีรูปทรงเอกลักษณ์สวยงามเหมือนไม้ประดิษฐ์ ได้รับความนิยมจากคนรักพันธุ์ไม้ประดับจัดสวนเป็นอย่างมาก ต้นไทรใบสักตระกูลไทร เป็นต้นไม้เขตร้อนชื้นเหมาะสำหรับที่จะปลูกในสภาพอากาศบ้านเรา ต้นไทรใบสักไม้ประดับ มักจะปลูกไว้ประดับตกแต่งภายในบ้านเรือน สถานที่ร้านค้า คาเฟ่ต่างๆ ความสวยงามของต้นไทรใบสักอยู่ที่ลักษณะต้นและใบ เนื่องจากต้นไทรใบสักมีลักษณะต้นเล็กตั้งสูงและออกใบเป็นทรงพุ่มปลายยอด ใบของต้นไทรใบสักจะมีขนาดใหญ่สีเขียวเข้มลักษณะใบผิวมันวาวเป็นรูปโค้งอิสระ เห็นเส้นใบชัดเจนหน้าใบจะโค้งเห็นลายใบชัด เพราะความสวยงามของใบและต้นของต้นไทรใบสัก จึงทำให้ กลายเป็นไม้ประดับสุดฮิตที่นิยมปลูกกันในปัจจุบันเป็นอย่างมาก

ต้นไทรใบสัก จะสามารถเติบโตได้ดีในดินที่โปร่งและระบายน้ำได้ดี ชื่นชอบดินร่วน หรือ ดินร่วนปนทราย สามารถปลูกได้โดยการปักชำกิ่ง และ การตอนกิ่ง การปักชำกิ่งควรเลือกกิ่งที่ไม่อ่อนและแก่จนเกินไป เป็นกิ่งที่ปราศจากโรคพืชพันธุ์ไม้และแมลง จากนั้นเตรียมดินนำดินไปตากแดดก่อนปลูกเพื่อกำจัดวัชพืช นำกระถางที่มีความกว้างและความลึกพอสมควรใส่ดินที่เตรียมไว้ นำกิ่งที่คัดสรรไว้มาชำลงในดิน ดูแลรดน้ำวางไว้ในที่ที่มีแสงแดดส่องถึง เมื่อกิ่งก้านที่ชำออกราก แตกหน่อ ก็สามารถย้ายลงปลูกในดิน หรือ ในกระถางขนาดใหญ่ได้เลยครับ

วิธีการดูแลต้นไทรใบสัก แม้ต้นไทรใบสักจะเป็นต้นไม้ที่สามารถปลูกไว้ภายในอาคารได้ แต่เพื่อนๆ ก็จะต้องให้ต้นไทรใบสักอยู่ในบริเวณที่มีแสงแดดรำไรสาดส่องถึงประมาณ 3-5 ชั่วโมงต่อวัน แต่ไม่ควรให้โดนแดดแรงจัดมากจนเกินไปเพราะอาจทำให้ใบไหม้ได้ ส่วนการให้น้ำควรให้พอประมาณ โดยอาจจะให้น้ำ 2 วันครั้ง หรือ จะเช็คดินก่อนให้น้ำโดยการนำมือสัมผัสดินที่ปลูกต้นไทรใบสัก หากดินยังมีความชุ่มชื้นอยู่ก็สามารถงดการให้น้ำ แต่หากดินแห้งก็รดน้ำให้ชุ่ม นอกจากนี้ควรเปลี่ยนกระถาง หากต้นมีขนาดใหญ่และมีรากเพิ่มมากขึ้น

ส่วนวิธีการดูแลใบให้สวยอยู่เสมอ อาจจะนำผ้าชุบน้ำมาเช็ดทำความสะอาดฝุ่นบริเวณใบเพื่อให้ใบมันวาวขึ้น แต่ไม่ควรใช้สารเคมีรวมทั้งน้ำมันมะพร้าวมาเช็ดบริเวณใบ เพราะอาจทำให้ใบเสียหายได้ ต้นไทรใบสักนอกจากความสวยงามประดับตกแต่งภายในบ้านแล้ว ต้นไทรใบสักยังเป็นพืชที่สามารถฟอกอากาศดูดสารพิษได้ดีอีกด้วยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook