สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ถั่วหรั่ง ปลูกง่าย ได้ประโยชน์

ถั่วหรั่ง พืชตระกูลถั่วที่เป็นพืชเศรษฐกิจจากทางภาคใต้ของประเทศไทยเรา เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดมาจากทวีฟแอฟริกาที่มีภูมิอากาศร้อนชื้น ก่อนที่จะแพร่กระจายพันธุ์ไปยังประเทสเขตร้อนและอบอุ่นทั่วโลก ในประเทสไทยเราปลูกมาหในจังหวัดสงขลา ปัตตานี พัทลุง และจังหวัดอื่นๆ ในภาคใต้ บ้างก็เรียกว่า ถั่วไทร บ้างก็เรียกว่าถั่วปันหยี เป็นต้น สามารถนำถั่วมารับประทานเป็นของว่าง หรือนำมาใช้เป็นวัตถุดิบในการทำอาหารทั้งคาวและหวาน บ้างก็นำมาผลิตเป็นแป้งเพื่อใช้เป็นวัตถุดิบในการผลิตขนม ส่วนฝักอ่อนที่มีรสชาติหวานและกรอบสามารถนำมาผัดรับประทานเป็นเมนูสุขภาพได้ และในส่วนของเมล็ดถั่วยังสามารถนำไปแปรรูปเป็นถั่วบรรจุกระป๋องเพื่อเป็นการถนอมอาหารและสามารถส่งออกไปยังต่างประเทศได้

ถั่วหรั่งเป็นพืชล้มลุก มีการเจริญเติบโตของลำต้น 2 แบบ โดยในช่วงที่เป็นต้นอ่อนหลังจากเพิ่งปลูกจะมีการเจริญแบบลำต้นตั้งตรง เมื่อเติบโตได้ระยะหนึ่งจะค่อยๆ เลื้อยและเจริญแบบแผน่ขนานไประนาบเดียวกับพื้นดิน ลำต้นเป็นรูปทรงกลม ระบบรากแก้วจะแตกรากแขนงออกมาจำนวนมาก และมีรากอากาศหรือรากวิสามัญแตกออกมาจากบริเวณข้อบนลำต้น ใบจะแตกออกจากข้อเช่นกันเป็นใบประกอบ ส่วนของก้านใบหลักมีสีเหลือง และมีความยาวราว 10-12 เซนติเมตร ประกอบด้วยใบย่อยจำนวน 3 ใบ รูปใบคล้ายหอก มีหูใบที่บริเวณโคนใบ สีของแผ่นใบมีหลายสีแตกต่างกันขึ้นอยู่กับสายพันธุ์ ส่วนของดอกจะผลที่บริเวณโคนใบ บ้างเกิดเป็นช่อ บ้างเกิดเป็นดอกเดี่ยว มีสีเหลืองขนาดเล็ก หลังจากนั้นจะเกิดฝักและเมล็ดต่อไป ฝักจะมีรูปทรงกลมไม่สมมาตร ขนาดประมาณ 1*1.2 เซนติเมตร มีเปลือกฝัก 3 ชั้นในฝักจะมีเมล็ดถั่วราว 1-2 เมล็ด แต่โดยทั่วไปจะพบเพียงเมล็ดเดียว เมล็ดถั่วจะมีขนาดประมาณ 1 เซนติเมตร และมีสีสันของเมล็ดแตกต่างกันตามพันธุ์ ทั้งสีม่วง สีน้ำตาล และมีลาย

แม้ว่าถั่วหรั่งจะเป็นพืชที่สามารถปลูกได้ในดินทุกสภาพและทนต่อดินเปรี้ยวได้แต่ไม่สามารถทนต่อดินที่มีสภาพเป็นด่างได้ แต่มักนิยมปลูกกันมากเฉพาะในพื้นที่ในภาคใต้ อุณหภูมิที่เอื้อต่อการเจริญเติบโตคือ 20-28 องศาเซลเซียส และควรมีปริมาณน้ำฝนปีละ 600 มิลลิเมตรขึ้นไป พันธุ์ที่นิยมปลูก ได้แก่ พันธุ์สงขลา 1 ที่ทนต่อความแห้งแล้ง และให้ผลผลิตได้เร็วกว่าพันธุ์พื้นเมืองราว 1-2 เดือน และมีน้ำหนักเมล็ดมากกว่าอีกด้วย โดยจะปลูกด้วยวิธีหยอดเมล็ด ใช้เวลาเพียง 110-120 วันก็สามารถทำการเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ด้วยการถอนออกมาจากดินทั้งต้น ขณะที่พันธุ์พื้นเมืองอาจต้องใช้เวลาถึง 150-180 วันหลังปลูก

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook