สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ถาดเพาะกล้า

ถาดเพาะกล้า นับว่าเป็นอุปกรณ์เกษตรที่ได้รับความนิยมในการนำใช้เพาะชำต้นกล้า เพราะมีข้อดีในการช่วยให้การย้ายต้นกล้าเพื่อลงแปลงปลูก ทำได้สะดวกมากยิ่งขึ้น ในการเพาะเลี้ยงไม้ดอกและผักต่าง ๆ เพื่อการค้า ซึ่งจำเป็นต้องผลิตในปริมาณสูง การเพาะเมล็ดในปัจจัยแวดล้อมที่เอื้อต่อการเจริญเติบโต ก่อนที่จะย้ายต้นกล้าลงปลูกในแปลงนั้น เรามักจะเลือกใช้เมล็ดพันธุ์คุณภาพที่ดีและมีราคาสูง และจำเป็นต้องใส่ใจอย่างใกล้ชิดในช่วงเริ่มต้น การเพาะเมล็ดในถาดเพาะเมล็ดจึงเป็นอุปกรณ์ที่สามารถวางไว้ใกล้ตัวเรา ทำให้มีโอกาสในการดูแลต้นกล้ามากขึ้น ช่วยลดความเสี่ยงเรื่องการตายของต้นกล้า และเรื่องของโรคและแมลงศัตรูพืชต่างๆ และที่สำคัญคือทำให้เราประหยัดเมล็ดพันธุ์ได้ด้วย

เทคนิคในการเพาะต้นกล้าในถาดเพาะกล้านั้นอาจจะแตกต่างกันไปตามพืชแต่ละชนิด แต่อย่างไรก็ตามปัจจัยหลักๆที่เราควรจะต้องมีการเตรียมพร้อมไว้อย่างดีคือ การเตรียมวัสดุเพาะกล้า อย่าง พีทมอส ที่อาจจะมีราคาสูง หรือดินหมักที่เราสามารถทำเองได้ล่วงหน้าก่อนการเพาะ โดยนำ ดินดำ แกลบดำ รำละเอียด ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมักและจุลินทรีย์ มาคลุกเคล้าและหมักไว้ก่อนการปลูกประมาณ 1 สัปดาห์ แล้วนำดินที่ได้ไปไปผสมกับขุยมะพร้าว กากมะพร้าว แล้วใส่ลงไปในหลุมของถาดเพาะ เพื่อให้รากของพืชที่เราปลูกสามารถยึดเกาะกากมะพร้าวไว้ ทำให้เราย้ายต้นกล้าออกจากถาดได้ง่าย รากไม่ได้รับความเสียหายหรือขาดลุ่ย

การเพาะกล้าในถาดเพาะกล้าทำได้ 2 วิธี คือ การหยอดเมล็ดลงในหลุม ซึ่งเหมาะกับเมล็ดพันธุ์ขนาดใหญ่ อย่างเมล็ดพันธุ์ของพืชกลุ่มถั่ว และการหว่านเมล็ดในตะกร้าเพาะก่อนที่จะย้ายมาปลูกในหลุมของถาด ซึ่งส่วนใหญ่จะใช้กับเมล็ดพันธุ์ที่มีราคาสูงและมีขนาดเล็ก ขั้นตอนการเพาะเลี้ยงของพืชที่มีราคาแพงนี้ จะเริ่มต้นจากการใส่ดินที่เราหมักและปรุงไว้แล้วลงในตะกร้าเพาะกล้า ให้ดินมีความหนาประมาณประมาณ 1 ซม. แล้วหว่านเมล็ดพันธุ์ลงให้ทั่วตะกร้า แล้วโรยดินเพาะทับอีกครั้ง ให้น้ำวันละ 2 ครั้ง ทุกเช้า-เย็น จนกว่าจะงอก เพื่อให้ได้ต้นกล้าที่สมบูรณ์มีโอกาสรอดสูง เมื่อต้นกล้าเริ่มผลิใบเลี้ยงจึงย้ายไปปลูกในถาดเพาะชำที่เตรียมดินเพาะชำไว้แล้ว เมื่อต้นกล้าเติบโตดีและครบตามระยะเวลาการเจริญของพืชแต่ละชนิด จึงย้ายลงปลูกในแปลงต่อไป

ถาดเพาะกล้าในปัจจุบันมีการผลิตออกมาจำหน่ายในหลายขนาดเพื่อให้เหมาะสมกับความต้องการของผู้บริโภค ตั้งแต่ 15 หลุม ไปจนถึง 200 หลุม สำหรับมือใหม่หัดปลูกอาจจะต้องเลือกขนาดกลางๆ ไว้นะครับ เผื่อขยายกำลังการผลิตค่อยหาซื้อเพิ่มครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook