สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ตะพาบ เลี้ยงได้ ต้องวางแผนดี

ตะพาบ หรือตะพาบน้ำ คือ สัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำ ที่อาศัยและเจริญเติบโตอยู่ในแหล่น้ำจืดต่างๆ ทั้งลำคลอง ลำธาร บึงน้ำทั่วประเทศ โดยแต่เดิมนั้นประชากรตะพาบน้ำมีให้คนโบราณพบเห็นได้ทั่วไป แต่เมื่อโดนจับมาปรุงเป็นอาหารกันมากขึ้น ทำให้กลายเป็นหนึ่งในสัตว์ที่หายาก เพราะธรรมชาติของสัตว์ชนิดนี้สามารถขยายพันธุ์และเจริญเติบโตได้ทันการบริโภคของมนุษย์ และเมื่อเกิดการขาดแคลน ก็ย่อมกลายเป็นช่องทางการตลาดที่สำคัญในการผลิตตะพาบน้ำออกมาขายในตลาด จนทำให้เพื่อนๆ เกษตรกรหันไปนำเข้าพันธุ์ตะพาบน้ำเพื่อเลี้ยงเชิงพาณิชย์เข้ามาจากต่างประเทศ เพื่อขยายพันธุ์และเพาะเลี้ยงออกสู่ตลาดกันมากขึ้น

ตะพาบ ที่พบเห็นในไทยเรามี 5 พันธุ์คือ ปลาฝา มีขนาดยาวประมาณ 60 เซนติเมตร มีกระดองสีเขียวและมีลายจุดสีเหลืองและดำบนกระดอง ตะพาบข้าวตอกเป็นพันธุ์ขนาดเล็ก กระดองมีสีเขียวแก่และมีปกคลุมไปด้วยจุดสีเหลืองทั่วกระดอง พันธุ์ม่านลาย เป็นพันธุ์ที่มีลำตัวใหญ่ถึง 1.8 เมตร บนกระดองมีแถบสีเหลืองเข้มมักจะพบในแถบจังหวัดกาญจนบุรี พันธุ์หัวกบเป็นตะพาบน้ำขนาดใหญ่อีกพันธุ์หนึ่ง แต่มีกระดองเป็นสีเขียวขี้ม้า มักจะพบเห็นในจังหวัดอยุธยา นครศรีธรรมราชและตาก ส่วนพันธุ์ที่ตัวเล็กที่สุดคือพันธุ์แก้มแดงทีมีขนาดเพียง 25-30 เซนติเมตร

ตะพาบน้ำที่เรานิยมนำมาเพาะเลี้ยง เป็นพันธุ์ไต้หวัน เพราให้ไข่ปริมาณมากและวางไข่ถี่ประมาณ 8 เดือนต่อปี และสามารถเลี้ยงให้เติบโตจนพร้อมขายด้วยระยะเวลาไม่ถึง 1 ปี ทำให้เก็บเกี่ยวผลผลิตได้ทันใจ โดยการเลี้ยงนั้นเราต้องเน้นเรื่องทำเลที่เหมาะสม มีแหล่งน้ำจืดเพียงพอ บ่อดินที่จะเลี้ยงต้องมีโคลน และมีบรรยากาศที่เงียบ ไม่มีเสียงดังรบกวน มีลมพัด อากาศถ่ายเท

สำหรับการทำบ่อพ่อแม่พันธุ์สำหรับการเลี้ยงแบบครบวงจรนั้นควรก่อคอนกรีตลึกลงไปในดินราว 70 เซนติเมตรและเหนอดินขึ้นมาอีก 50 เซนติเมตร เพื่อป้องกันตะพาบหนีออกจากบ่อ และในบ่อนั้นควรสร้างโรงเรือนฟักไข่ ที่มีหลังคากันแดดกันฝนไว้ด้วย แต่หากว่าเพื่อนๆ เกษตรกรไม่ได้เลี้ยงแบบครบวงจร อาจจะใช้วิธีการซื้อหาลูกตะพาบน้ำจากบ่ออนุบาลแล้วนำมาเลี้ยงในบ่อขุน ไม่เกิน 1 ปี ก็นำไปขายในตลาดได้แล้วครับ โดยบ่อขุนนั้นจะทำเป็นบ่อดินหรือบ่อคอนกรีตก็ได้ หากพื้นที่ที่จะเลี้ยงเป็นดินเหนียวอยู่แล้วก็สามารถเลี้ยงในบ่อดินได้เลย แต่หากว่าเป็นดินทรายที่เก็บน้ำไม่อยู่ ก็จะต้องลงทุนก่อคอนกรีตแล้วนำดินเหนียวและพรรณไม้น้ำมาตกแต่งเลียนแบบธรรมชาติ เพื่อให้ตะพาบน้ำได้หลบซ่อนตัว แต่อย่าลืมก่อคอนกรีตตรงปากบ่อทั้งบ่อดิน และบ่อคอนกรีตเหมือนบ่อพ่อแม่พันธุ์ เพื่อป้องกันตะพาบน้ำหนีด้วยนะครับ

นอกจากนี้ก่อนการเลี้ยงสัตว์ทุกชนิด ควรต้องศึกษาตลาดให้ดี เพราะตลาดมีการเปลี่ยนแปลงค่อนข้างมาก และหากมีการสร้างชุมชนผู้ประกอบการที่เข้มแข็ง ก็จะทำให้การขายผลผลิตของเราได้ราคามากขึ้นด้วยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook