สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

สาลี่ ปลูกในเมืองไทยจะดีไหมหนอ

สาลี่เป็นไม้ผลเขตหนาว ที่เข้าสู่ประเทศไทยในลักษณะและระยะเวลาใกล้เคียงกับแอปเปิ้ล นิยมปลูกเป็นการค้ามากในแถบ ทวีปยุโรป ทวีปอเมริกาใต้ และทวีปเอเชีย แหล่งปลูกที่สำคัญในประเทศไทย ได้แก่จังหวัดเชียงใหม่และเชียงราย สาลี่จัดเป็นผลไม้เพื่อสุขภาพ ให้คุณค่าทางอาหารสูง มีวิตามินบี 1 บี2 วิตามินซี และแร่ธาตุต่างๆ มีสรรพคุณแก้ร้อนใน ละลายเสมหะ ช่วยขับลมและระงับอาการไอ สามารถบริโภคผลสดหรือนำมาทำเป็นฟรุตสลัด นำมาหมักไวน์หรือแปรรูปบรรจุกระป๋อง สาลี่บางพันธุ์นำมาทำขนมอบแห้งและทำเป็นลูกอมได้ดี เนื้อไม้ของต้นสาลี่สามารถนำมาใช้ทำเป็นเครื่องเรือนได้

สาลี่เป็นไม้ผลยืนต้นหรือไม้พุ่มผลัดใบลำต้นสูงได้ถึงประมาณ 15 เมตร ส่วนของใบมีความหนา สีเขียวเข้ม มีรูปทรงกรมรี บ้างก็ว่าคล้ายใบโพธิ์ ฐานใบเป็นทรงกลมแต่ปลายใบเป็นทรงแหลม ขอบใบมีรอยจักร ผิวใบเรียบช่อดอกผลิออกมาเป็นทรงคล้ายร่ม

ผลของสาลี่มีลักษณะเป็นรูปทรงกรวยหรือทรงระฆังถึงค่อนข้างกลม ผิวผลมีสีเหลืองทอง เขียว เขียวอมเหลืองเ สีน้ำตาล จนกระทั่งสีแดงขึ้นอยู่กับพันธุ์ของสาลี่ บางพันธุ์เมื่อรับประทานจะรู้สึกได้ว่ามีเนื้อผลคล้ายทรายผสมอยู่

สาลี่แบ่งออกได้เป็น 2 ชนิดตามแหล่งเพาะปลูกที่สำคัญคือสาลี่ยุโรปหรือที่เราเรียกกันว่าสาลี่ฝรั่งมีถิ่นกำเนิดในเขตหนาว ของทวีปยุโรปและเอเชียตะวันตก แถบเทือกเขาหิมาลัย ส่วนอีกพันธุ์ คือสาลี่จีนหรือสาลี่ญี่ปุ่น ซึ่งมีถิ่นกำเนิดในเขตที่อบอุ่นกว่าพันธุ์ แรกและปลูกอย่างแพร่หลายในประเทศจีนและญี่ปุ่น

สำหรับประเทศไทยเรานั้นได้มีการทดลองปลูกสาลี่พันธ์ต่างๆ ในพื้นที่สูงแต่พบว่ามีการเจริญเติบโตที่ช้ามากเนื่องจากไม่ได้รับสภาพอากาศที่มีความหนาวเย็นเพียงพอจึงไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร

สาลี่สามารถปลูกได้ทั้งวิธีการใช้ต้นตอและขยายพันธุ์ แต่สำหรับบ้านเรานิยมการติดตาต่อกิ่งบนต้นตอมากกว่า เนื่องจากต้นตอจะมีระบบรากที่แข็งแรง ต้านทานต่อโรคและแมลง ต้นตอสาลี่ที่ใช้ส่วนใหญ่เป็นต้นตอจากไต้หวัน เป็นพันธุ์ลูกเล็ก มีรสฝาด ไม่สามารถนำมารับประทานได้ แต่มีเมล็ดมากจึงปลูกเพื่อเอาไว้ใช้เป็นต้นตอเพียงอย่างเดียว

การขยายพันธุ์ต้นตอทำได้โดยการตอน ปักชำหรือเพราะเมล็ด โดยวิธีการเพาะเมล็ดเป็นวิธีที่นิยมใช้มาก แต่เนื่องจากสาลี่เป็นผลไม้เขตหนาวจึงต้องมีการทำการพักตัวของเมล็ดโดยใช้ความเย็น ด้วยวิธีการนำเมล็ดคลุกกับขุยมะพร้าวที่มีความชื้น แล้วบ่มไว้ในภาชนะที่เก็บไว้ในตู้เย็นที่มีอุณหภูมิ 4 ถึง 10 องศาเซลเซียสนาน 4 เดือน

จากขั้นตอนทั้งหมดจึงเป็นที่มาว่าทำไมจึงแทบไม่มีเพื่อนๆ เกษตรกรให้ความสนใจในการปลูกผลไม้พันธุ์นี้กันนะครับ ผลไม้บางชนิดก็ไม่ได้เหมาะสมกับพื้นที่เขตร้อนแบบเราเท่าไรครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook