สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หนอนตายหยาก พืชป้องกันกำจัดศัตรูพืช

หนอนตายหยาก พืชสมุนไพรทางภาคเหนือที่ไม่ได้มีดีเพียงแค่ใช้เป็นยาสมุนไพรเท่านั้น แต่หนอนตายหยากยังเป็นพืชล้มลุกที่สามารถนำมาใช้กำจัดศัตรูพืชตัวร้ายที่คืบคลานเข้ามาทำลายผลผลิตพืชในสวนในไร่ ทำให้ผลผลิตในทางเกษตรเสียหายและเสียราคา หนอนตายหยากนั้นเป็นพืชพื้นเมืองของทางภาคเหนือ มีชื่อเรียกตามภาษาท้องถิ่นหลายชื่อ ไม่ว่าจะเป็น ปงช้าง โป่งมดงาม สลอดเชียงคำ และกะเพียดหนู โดยพืชหนอนตายหยากสามารถเพาะพันธุ์ได้ด้วยวิธีการ เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ การเพาะเมล็ด แต่ในบางสายพันธุ์ก็ติดเมล็ดยาก จึงใช้วิธีการแบ่งเหง้าในการขยายพันธุ์แทนครับ การเพาะเลี้ยงหนอนตายหยากก็เพื่อใช้แปรรูปเป็นยากำจัดศัตรูพืชต่างๆของเพื่อนๆเกษตรกรในพื้นที่ ทั้งยังถือเป็นการใช้วิธีการกำจัดศัตรูพืชแบบไม่ต้องพึ่งพาสารเคมีด้วยล่ะครับ ถือว่าเป็นวิธีที่สามารถกำจัดศัตรูพืชได้ง่ายๆ ทั้งยังเหมาะกับการปลูกพืชผักแบบปลอดสารพิษเป็นอย่างมากอีกด้วยครับ

หนอนตายหยากเป็นพืชที่มีรากอยู่ภายในดินเป็นจำนวนมาก แต่ละรากจะโยงเชื่อมกันคล้ายผลหัวมันเทศที่อยู่ภายใต้ดิน ใบของหนอนตายหยากมีสีเขียว มีเส้นใบขนานกันหลายเส้นบนใบ ปลายใบแหลมแคบ โคนใบกว้างขยายออกคล้ายรูปหัวใจและคล้ายใบพลู ออกดอกเป็นช่อตามบริเวณซอกใบ ให้ดอกสีขาวและสีม่วงขนาดเล็ก ขึ้นได้ดีในสภาพดินป่าและภูเขา เมื่อถึงฤดูแล้งจะผลัดใบร่วงหล่นลงจากต้นเหลือแค่เพียงรากไว้ แต่เมื่อเข้าฤดูฝนก็จะออกดอกและใบอีกครั้ง

ในวงการเกษตรกรรมเรา ได้มีการนำพืชชนิดนี้มาใช้เพื่อป้องกันและไล่แมลงศัตรูพืชมาช้านาน เพราะในหนอตายหยากนั้นมีสารออกฤทธิ์ที่ชื่อว่าอัลคาลอยด์ ที่มีฤทธิ์ฆ่าแมลงได้ดี จึงถูกนำมาใช้ทดแทนการใช้ยาฆ่าแมลงที่เป็นสารเคมีเพื่อลดปัญหาสารพิษตกค้างในพืชผัก ซึ่งจะส่งผลเสียต่อผู้บริโภค รวมทั้งตัวเกษตรกรผู้ฉีดพ่นนาเหล่านั้นด้วยครับ

วิธีการนำหนอนตายหยากไปแปรรูปเป็นยากำจัดวัชพืชจะต้องนำส่วนรากหรือเถาของต้นมาใช้ เพราะเป็นส่วนที่มีพิษอยู่ หากรับประทานเข้าไปแล้วจะมีอาการมึนเมาคล้ายกับการรับประทานพวกเห็ดมีพิษต่างๆ ได้  วิธีการทำให้นำรากของหนอนตายหยากมาสับให้มีขนาดเล็ก ก่อนที่จะนำมาผสมกับน้ำในอัตราส่วน 1 กิโลกรัมต่อน้ำสะอาด 20 ลิตร แช่ไว้ 1 คืน และนำมากรองด้วยผ้าขาว นำน้ำที่ได้จากการกรองใส่ไว้ในภาชนะเพื่อเตรียมฉีดรดต้นพืช โดยควรฉีดให้ทั่วทั้งแปลงและบริเวณต้นผักที่ปลูกสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เพื่อป้องกันและกำจัดแมลงที่เป็นศัตรูพืชในสวนได้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook