สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การป้องกันโรคพืช เรื่องใหญ่ที่ต้องใส่ใจ

การป้องกันโรคพืชเป็นความรู้เบื้องต้นที่เกษตรกรทั่วโลกต้องมีความรู้และให้ความสำคัญในการทำเกษตรกรรม เพราะโรคพืชหลายชนิดสร้างความเสียหายต่อพืชผลทางการเกษตรมากกว่าที่หลายคนคิด เพราะเมื่อเกิดโรคพืชขึ้นมาแล้วนั้นส่วนใหญ่จะทำให้ผลผลิตเสียหาย โดยอาจจะส่งผลต่อการเจริญเติบโตของลำต้น ปริมาณการให้ผลผลิต และคุณภาพของผลผลิต หากลุกลามใหญ่โตอาจจะทำให้ผลผลิตเสียหายทั้งแปลงได้ ทั้งนี้ปัจจัยที่ก่อให้เกิดโรคพืชอาจจะมีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิต อย่างเชื้อรา แบคทีเรียและไส้เดือนฝอย เป็นต้น นอกจากนี้เรื่องของสิ่งแวดล้อม ปริมาณธาตุอาหารและสารพิษ ก็ยังส่งผลให้เกิดโรคพืชได้อีกด้วย

การป้องกันโรคพืชจากการติดเชื้อจากสิ่งมีชีวิตนั้น จะต้องจำแนกอาการให้ได้ว่า อาการต่างๆ เกิดจากเชื้อตัวไหน เช่น อาหารแผลไหม้ แผลจุด อาจจะเกิดได้จากเชื้อราหรือแบคทีเรีย ขณะที่อาการใบด่าง ซีดเหลือง อาจจะเกิดได้จาก ไฟโตพลาสมา ไส้เดือนฝอย หรือไวรัส เป็นต้น ซึ่งแหล่งที่มาของเชื้อ อาจจะเกิดได้จาก เศษซากพืชที่อยู่ในดินหรืออยู่ในวัชพืชในแปลงปลูกจนทำให้ต้นพืชเป็นโรค สามารถแพร่กระจายโรคไปโดยน้ำ ลม แมลง และอุปกรณ์เครื่องมือที่ใช้ในแปลงปลูก รวมทั้งส่วนของการขยายพันธุ์พืช

สำหรับการป้องกันโรคพืชที่มีสาเหตุมาจากสิ่งมีชีวิตนั้น จะต้องลงมือทำตั้งแต่ก่อนการปลูกพืชไปจนถึงกระบวนการหลังกการเก็บเกี่ยว เริ่มตั้งแต่การฆ่าเชื้อโรคก่อนการปลูกพืชในแต่ละฤดูกาลด้วยการไถพลิกดินขึ้นมาตากแดดไว้ราว 10-14 วันเป็นอย่างน้อย รวมทั้งการกำจัดเศษซากของหญ้าวัชพืชและซากพืชในดินซึ่งอาจจะเป็นแหล่งของโรค นอกจากนี้ระหว่างการเตรียมแปลงปลูกจะต้องมีการเว้นระยะให้เหมาะสม เพราะหากเกิดโรคพืชขึ้นจะลดการแพร่ระบาดระหว่างต้นสู่ต้นได้ รวมถึงการวางแผนการปลูกพืชหมุนเวียนในแปลงปลูก การเลือกใช้พันธุ์พืชที่มีความต้านทานต่อโรค หลังจากที่ปลูกพืชแล้ว ควรทำการตัดแต่งทรงพุ่มของต้นพืชให้แสงแดดส่องผ่านเข้าไปในพุ่มได้ทั่วถึง เพื่อไม่ให้เกิดความชื้นมากเกินไปจนเป็นแหล่งของชื้อโรค และมีการใช้จุลินทรีย์ปฏิปักษ์ เพื่อควบคุมโรคในทุกระยะการเจริญของพืช และในแปลงปลูกควรมีการจัดการเรื่องการระบายให้เหมาะสมด้วย

การป้องกันโรคพืชที่เกิดจากการขาดธาตุอาหาร จะสังเกตได้ เช่น หากพืชมีลักษณะใบเหลืองโดยเริ่มเหลืองมาตั้งแต่ปลายใบไล่เข้ามาที่โคนใบนั้น อาจจะเกิดจากการได้รับธาตุอาหารไนโตรเจนไม่เพียงพอ หากขากโพแทสเซียมจะทำให้ผลไม่โต ไม่ได้ขนาดที่เหมาะสม เป็นต้น ดังนั้นในแปลงปลูกจำเป็นที่จะต้องมีธาตุอาหารที่เหมาะสมกับพืชแต่ละชนิด หากคุณสมบัติดินไม่เหมาะสม ควรต้องทำการปรุงดินก่อนที่จะทำการปลูกและระหว่างการปลูกควรมีการเติมอินทรียวัตถุที่มีธาตุอาหารสมบูรณ์ลงไป ดังนั้นก่อนทำการพเพาะปลูกควรทำการวิเคราะห์ดินและปรับปรุงดินก่อนเสมอ ซึ่งจะช่วยป้องกันโรคพืชได้ระดับหนึ่ง

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook