สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

เมล็ดข้าว เรื่องลึกที่ต้องรู้

ข้าวถือเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญที่สุดและมีความเกี่ยวพันกับวิถีชีวิตชาวไทยเรามายาวนาน โดยชนิดของข้าวนั้นแบ่งตามความแตกต่างของความแข็งของเมล็ดข้าว เป็นข้าวเจ้าและข้าวเหนียว หรืออาจจะแบ่งตามความยาวของเมล็ดข้าวก็ได้ ซึ่งเมล็ดข้าวนั้นจะมีส่วนประกอบหลักคือ ส่วนที่ห่อหุ้มผลที่เราเรียกกันว่าแกลบนั่นแหละครับ และส่วนเนื้อของผล

ส่วนของแกลบของเมล็ดข้าวนั้น จะมีเปลือกใหญ่  ที่เปลือกหุ้มเมล็ดบริเวณท้องข้าว มีขนาดใหญ่มีรอยยาวเป็นเส้นประมาณ 5 เส้น โดยจะทำหน้าที่ห่อหุ้มเปลือกเล็กซึ่งหุ้มผลด้านหลังไว้ทั้ง 2 ด้านอย่างหนาแน่น และจะมีขนปกคลุมบนเปลือกทั้งสองไว้ เพื่อช่วยในการระเหยนำให้แก่เมล็ดข้าว และช่วยแพร่พันธุ์ตามธรรมชาติ ส่วนปลายของเปลือกใหญ่นั้นเราเรียกว่าหาง ซึ่งมีหน้าที่ในการกระจายพันธุ์คล้ายกับขนเปลือกนั่นเอง

ในส่วนของเนื้อในเมล็ด จะมีเยื่อหุ้มผลชั้นต่างๆ บางๆ ซึ่งทำหน้าที่แตกต่างกันไป และส่วนสำคัญที่สุดคือเนื้อเมล็ดข้าว หรือเนื้อข้าว โดยทุกส่วนของเมล็ดข้าวนั้นสามารถนำไปใช้ประโยชน์ได้ทั้งหมด ทั้งในแบบข้าวสาร ข้าวท่อน ที่สามารถนำไปแปรรูปเป็นวัตถุดิบในการผลิตอาหารที่หลากหลาย และส่วนของแกลบที่นำไปใช้เป็นชีวมวลเพื่อผลิตเชื้อเพลิง และส่วนของรำข้าวสามารถผลิตและสกัดเป็นน้ำมันได้อีกด้วย

เมล็ดข้าวถูกจัดว่าเป็นผลเดี่ยว ชนิดแห้ง โดยส่วนของแกลบเป็นส่วนที่ไม่มีประโยชน์ทางโภชนาการเท่าที่ควรและมีน้อย ส่วนของเนื้อผลหรือเนื้อเมล็ดข้าวนั้นมรสัดส่วนถึงร้อยละ 80 ของเมล็ดข้าว ประกอบด้วยแป้งหลายกลุ่มรวมตัวกัน และแทรกด้วยไขมันและโปรตีนพอประมาณ ส่วนรำข้าวนั้นเป็นส่วนที่เจริญพันธุ์ไปเป็นต้นข้าวอ่อนต่อไปซึ่งมีโปรตีนและวิตามินสูงมาก แต่โดยรวมแล้วเมล็ดข้าวจะให้โปรตีนน้อยกว่าธัญพืชอื่นๆ ขณะที่ไขมันที่อยู่ในเมล็ดข้าว จะเป็นกรดไขมันไม่อิ่มตัว ซึ่งช่วยควบคุมไขมันในเส้นเลือดได้

เมื่อเรารู้จักโครงสร้างของเมล็ดข้าว เราก็ควรรู้วิธีการเก็บรักษาเมล็ดข้าวให้เหมาะสมเพื่อป้องกันไม่ให้เกิดความชื้นสูงและเกิดราตามมาได้ เพราะเมล็ดข้าวนั้นมีความสามารถในการดูดความชื้นได้ดี รวมไปถึงการป้องกันการแตกร้าวของเมล็ดข้าวด้วย เพราะเมื่อเราลดความชื้นในข้าว ก็อาจจะทำให้เมล็ดข้าวแตกหักได้ง่าย เกิดความเสียหายแต่ผลผลิต โดยวิธีการที่ง่ายที่สุดคือวิธีการตากแดดบนลานตากที่เราทำกันมาแต่โบราณครับ ต้นทุนต่ำ แม้จะมีประสิทธิภาพไม่เท่ากับเครื่องมือยุคใหม่ แต่ก็สามารถช่วยลดความชื้นได้ดีทีเดียวครับ เพียงแค่เราควรโปรยข้าวทับซ้อนเกินให้หนาราวๆ 3 เซนติเมตร เพื่อป้องกันข้าวไม่ให้โดนแดดแรงเกินไปแล้วเกิดการแตกหัก และควรมีการกลับกองข้าวทุกครึ่งชั่วโมง หรือถ้าจะให้ดีก็อาจจะใช้เตาอบพลังงานแสงอาทิตย์ไปเลยครับ ท้ายที่สุดแล้วผลผลิตทุกอย่างเราต้องเข้าใจให้รู้ลึกรู้จริง ถึงจะสามารถผลิตของมีคุณภาพให้ตลาดได้ครับ แม้กระทั่งข้าวที่เราคุ้นเคยก็มีขั้นตอนที่เราต้องใส่ใจครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook