สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หอยทาก กับการกำจัดด้วยชีววิธีง่าย ๆ

หอยทากเป็นสัตว์ที่พบได้โดยทั่วไปในประเทศไทยโดยเฉพาะตามแนวเขาหินปูน โดยมีวิวัฒนาการจากการอาศัยอยู่ในน้ำแล้วพัฒนาจนสามารถปรับเปลี่ยนมาใช้ชีวิตอยู่บนบกได้ หอยทากที่คนไทยส่วนใหญ่รู้จักเป็นหอยทากแอฟริกันที่นำเข้ามาในประเทศไทยโดยทหารญี่ปุ่นในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 ต่อมาได้กลายเป็นสัตว์ที่สร้างความเสียหายต่อพืชผักและผลผลิตของเกษตรกร แต่ก็ยังมีหอยทางบางชนิดที่ถูกคนไทยเรานำมาบริโภค เช่น หอยหอม  คล้ายคนยุโรปที่นำมาทำรับประทานเป็นเมนูหอยทากเอสคาร์โก้ ที่โด่งดังและส่งออกขายไปทั่วโลก แต่คนไทยเรายังคงนำมารับประทานโดยกรรมวิธีต้ม ปิ้ง เผาแล้วจิ้มกับน้ำพริกหรือยำ เป็นต้น

หอยทากเป็นสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลังและมีชั้นหอยฝาเดียว ถูกจัดให้เป็นสัตว์ที่มีความสามารถในวิวัฒนาการสูง สามารถแพร่กระจายพันธุ์ไปได้ทั่วโลก มีความหลากหลายมากกว่า 80,000 ชนิดทั่วโลก โดยทั่วไปเราสามารถแบ่งหอยทากออกเป็น 2 กลุ่มใหญ่ คือ หอยทากที่อาศัยอยู่ตามพื้นดินและหอยทากที่อาศัยอยู่บนต้นไม้ โดยหอยทากที่อาศัยอยู่ตามต้นไม้จัดว่าเป็นหอยต้นไม้ที่มีความสวยงามที่สุดในโลก ขณะที่ในประเทศไทยเรานั้นมีหอยทากถึง 20 ชนิดและกำลังถูกคุกคามจากการทำลายป่าไม้ จนทำให้หอยทากเหล่านั้นต้องมาแทะกินใบพืช และผลผลิตของเพื่อนๆเกษตรกร จนสร้างความเสียหายให้แก่พืชผักหลายชนิด

ลักษณะของหอยทากนั้น เป็นหอยที่มีเปลือกเวียนเป็นเกลียวทำหน้าที่ปกป้องอวัยวะภายใน ซึ่งมีท่อทางเดินอาหาร ระบบหมุนเวียนเลือด ระบบขับถ่าย และระบบสืบพันธุ์อยู่ภายใต้เปลือกหอย หอยทากสามารถกินอาหารได้ทุกรูปแบบ คือ กินพืช กินสัตว์ สารอินทรีย์และปรสิต จึงกลายเป็นศัตรูสำคัญสำหรับเพื่อนเกษตรกร

สำหรับสวนกล้วยไม้ หอยทากจะกัดกินรากอ่อน หน่ออ่อน ใบและดอกกล้วยไม้ ทำให้หยุดการเจริญเติบโตและดอกกล้วยไม้ได้รับความเสียหาย จนทำให้ขายไม่ได้ราคา ในกรณีที่ส่งออกไปยังตลาดต่างประเทศก็พบว่า บางครั้งหอยทากจะติดไปกับดอกกล้วยไม้ เมื่อตรวจพบที่ด่านกักกันพืชของประเทศปลายทาง เช่น ญี่ปุ่น อเมริกา สหภาพยุโรปก็จะถูกดำเนินการเผาดอกกล้วยไม้เหล่านั้นทันทีทำให้เกิดความเสียหายทั้งในแง่ของเศรษฐกิจและชื่อเสียงของประเทศอีกด้วย ครั้นจะใช้สารฆ่าแมลงกำจัดหอยทาก ก็จะมีผลเสียต่อระบบนิเวศ จึงได้มีการหาวิธีการกำจัดแบบชีววิธี โดยการใช้ ตัวเบียน ตัวห้ำ หรือ ปรสิต เช่น แบคทีเรีย เชื้อรา โปรโตซัว มากำจัดหอยทาก และวิธีที่ได้รับความนิยมที่สุดคือการใช้ปรสิตในตัวไส้เดือนฝอยมากำจัดหอยทาก สำหรับแปลงผักใบเขียว อย่างผักสลัด ก็มีการนำฝักคูน ที่มีสารออกฤทธิ์ต่อระบบประสาทของหอยทากมา โดยการนำฝักคูนมาสับและโขลกให้แหลก ปริมาณ 5 กิโลกรัมผสมในน้ำ 2 ลิตร แล้วใช้น้ำที่ผสมแล้วราดในพื้นที่ที่มีหอยทาก ไม่เกิน 2 ชั่วโมงหอยทากก็ตายครับ

แม้หอยทากจะมีข้อดี แต่ก็สามารถความเสียหายให้แก่ผลผลิต เมื่อเรารู้วิธีกำจัดแบบไม่ใช้สารเคมี เราก็อาจจะทดลองทำกัน เพื่อให้ผลผลิตเราปลอดภัยและมีคุณภาพที่สุดครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook