สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ตะไคร้หอม สมุนไพรพื้นบ้าน

ตะไคร้หอม พืชพื้นบ้านที่อยู่ในตระกูลตะไคร้ธรรมดา ที่เรานิยมปลูกไว้ในครัวเรือนเพื่อใช้ในการปรุงรสอาหารหรือรับประทานกับอาหารนั่นแหละครับ แต่ตระไคร้หอมนั้นมีกลิ่นที่รุนแรงกว่า สามารถสกัดตะไคร้หอมไปทำเป็นน้ำมันระเหยได้เพราะมีกลิ่นหอมมาก ตามตำรับแพทย์พื้นบ้านได้นำตะไคร้หอมมาใช้รักษาอาการกรดในกระเพาะอาหาร รักษาแผลในช่องปาก และในทางการเกษตรเรายังนำไปกำจัดและขับไล่แมลงศัตรูพืชในพื้นที่เก็บผลิตผลต่างๆได้อีกด้วย เพราะประโยชน์ที่หลากหลายจึงทำให้เพื่อนๆเกษตรกรหลายท่านหันมาปลูกตะไคร้หอมกันมากขึ้น โดยพันธุ์ที่ใช้ปลูกก็คือตะไคร้หอมพันธุ์ตะไคร้มะขูดและพันธุ์จากอินโดนีเซียที่ชื่อ C. winterianus J. เพราะเป็นพันธุ์ที่มีกลิ่นฉุนสามารถนำไปทำน้ำมันหอมระเหยได้ดีกว่าพันธุ์อื่น

ลักษณะของต้นตะไคร้หอมนั้นจะเป็นกอ มีใบเรียวยาวสีเขียวอมเหลือง มีลำต้นเล็กทรงกระบอก เป็นพืชล้มลุกอายุไม่เกิน 8 ปี ใบขึ้นเป็นลักษณะพุ่ม ดอกจะออกได้ดีในฤดูหนาว วิธีการปลูกใช้ท่อนพันธุ์ในการปลูก

ขั้นตอนการปลูกตะไคร้หอมเริ่มจากการเตรียมดิน ให้พรวนดินยกร่องและจะต้องไถตากดิน 7 วันเพื่อจะกำจัดวัชพืช เมื่อพรวนดินจนร่วนแล้ว จึงไถยกร่อง โดยเว้นระยะแต่ล่ะแถว 1-1.5 เมตร เพื่อให้ง่ายต่อการลดน้ำใส่ปุ๋ยและกำจัดวัชพืช และให้ขุดหลุมโดยมีความกว้างความลึกและความยาว 15x15x15 เซนติเมตร ก่อนจะนำปุ๋ยคอก คลุกเคล้าให้เข้ากันและใส่รองก้นก่อนปลูก จากนั้นก็นำท่อนพันธุ์ตะไคร้หอมที่เลือกไว้นำลงปลูก โดยท่อนพันธุ์นั้นคือส่วนของลำต้นตะไค้หอมซึ่งมีเหง้าและรากติดต้นมาด้วย โดยสามารถเลือกต้นพันธุ์ได้จาก ตะไคร้หอมที่มีอายุตั้งแต่ 8 เดือนขึ้นไป และนำมาตัดใบออกให้เลือกกาบใบไว้เล็กน้อย การปลูกจะต้องนำท่อนพันธุ์ลงปลูกโดยทำมุม 45 องศา หลุมหนึ่งสามารถปลูกได้ 1-2 ต้น

แม้ว่าตะไคร้หอมจะทนแล้งได้ดีแต่เพื่อนๆก็ควรที่จะลดน้ำให้ชุ่มชื้นอยู่ทุกวันนะครับ จากนั้นก็รอเวลาประมาณ 6-8 เดือนก็สามารถเก็บเกี่ยวได้แล้ว และควรเว้นระยะสามเดือนถึงจะเก็บเกี่ยวได้ใหม่อีก เพื่อให้ตะไคร้หอมเจริญเติบโตได้อย่างเต็มที่และถึงแม้ว่าตะไคร้หอมจะมีอายุ 6-8 ปีแต่หากเก็บเกี่ยวเพื่อใช้ทำน้ำมันระเหยก็จะเก็บเกี่ยวได้จนถึงปีที่ 3-4 เท่านั้นครับ เพราะจะเป็นช่วงเวลาที่ต้นตะไคร้หอมสามารถผลิตน้ำมันระเหยได้มากที่สุดแล้วล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook