สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาหมอเทศ..การเลี้ยงพ่อแม่พันธุ์เพื่อขยายพันธุ์

ปลาหมอเทศ เป็นปลาน้ำจืดและปลาน้ำกร่อย ที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในทวีปแอฟริกาใต้และประเทศในเขตอบอุ่นถึงร้อน ได้นำเข้ามาในระเทศไทยมากกว่า 500 ปี ด้วยความที่ปลาชนิดนี้มีความสามารถในการแพร่พันธุ์ได้เร็วและเลี้ยงง่าย จึงกลายเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางในประเทศไทยเรา

ลักษณะของปลาหมอเทศนั้นจะมีหัวปลาที่ใหญ่ ปากใหญ่ ขากรรไกรบนแคบกว่าขากรรไกรล่าง ด้านข้างของลำตัวแบน หลังปลาเป็นสีเทาเข้มออกดำ แต่ลำตัวจะเป็นสีน้ำตาล บริเวณท้องปลามีสีเหลืองแกมน้ำตาลอ่อน มีครีบเป็นหยักแหลมและแข็ง มีขนาดลำตัวเต็มที่ 35 เซนจิเมตร น้ำหนักประมาณ 1 กิโลกรัม และเป็นสัตว์น้ำที่อายุยืนถึง 11 ปี ปลาตัวเมียจะมีขนาดเล็กกว่าปลาตัวผู้ และมีสีของลำตัวสีอ่อนกว่าตัวผู้

การเลี้ยงปลาหมอเทศเราจะเริ่มต้นกันตั้งแต่การเตรียมบ่อดิน แล้วตากบ่อไว้ราว 2-4 สัปดาห์ ก่อนที่จำนำปูนขาวมาเทลงในบ่อในปริมาณ 150 กิโลกรัมต่อไร่ เพื่อปรับสภาพดินของบ่อและเป็นการฆ่าเชื้อโรคที่ปะปนอยู่ในเนื้อดินด้วย แล้วจึงปล่อยน้ำที่ผ่านการกรองเข้ามาในบ่อ ก่อนที่จะปล่อยลูกปลาที่เกิดจากพ่อแม่พันธุ์ที่เป็นสายพันธุ์แท้ที่สมบูรณ์ โดยลูกปลามีขนาดไม่เกิน 3 เซนติเมตรลงในบ่อ โดยใช้สัดส่วนไร่ละ 8,000 ตัว ข้อควรระวังคือ ควรเลือกลูกปลามาจากพ่อแม่พันธุ์ที่หลากหลาย โดยปลา 8,000 ตัวนี้ ควรนำมาจากพ่อแม่พันธุ์มากกว่า 50 คู่ เพื่อไม่ให้เกิดปัญหาสายเลือดชิดต่อไป การให้อาหารปลานั้นเราจะนำอาหารปลาดุกที่มีโปรตีนมากกว่าร้อยละ 30 มาโรยลอยน้ำ ให้วันละ 1 มื้อ และต้องทำการเปลี่ยนถ่ายน้ำในบ่อทุกสัปดาห์ เพื่อกระตุ้นให้ปลาเจริญได้ดี เมื่อเลี้ยงจนครบ 6 เดือนจึงคัดเลือกปลาที่มีคุณลักษณะตามสายพันธุ์ ที่แข็งแรงและสมบูรณ์เพื่อนำมาเป็นพ่อแม่พันธุ์เพื่อทำการขยายพันธุ์ปลาหมอเทศต่อไป

เมื่อได้พ่อแม่พันธุ์แล้ว ให้นำมาปล่อยในบ่อใหม่ที่เตรียมไว้ จะใช้เป็นบ่อดิน กระชังหรือบ่อคอนกรีตก็ได้ ขึ้นอยู่กับงบประมาณของเพื่อนๆ เกษตรกรผู้เพาะเลี้ยง โดยบ่อคอนกรีตนั้นจะมีต้นทุนที่สูงแต่การเก็บรวบรวมพ่อแม่พันธุ์และการดูแลรักษาบ่อจะทำได้ง่ายกว่าบ่อดิน การปล่อยพ่อแม่พันธุ์ลงในบ่อนั้นให้ปล่อยในสัดส่วน ตารางเมตรละไม่เกิน 3 ตัว ให้อาหารปลาดุกเช่นเดิม และหมั่นตรวจสอบดูไข่ปลาทุก 7 วัน หากพบว่ามีไข่ปลาอยู่ในช่องปากของแม่พันธุ์ให้เราเคาะไข่ปลาออกจากแม่พันธุ์ทีละตัวและแยกไข่ปลาใส่ในภาชนะตัวละ 1ใบ แล้วนำไปล้างในน้ำที่ผสมด่างทับทิม แล้วจึงนำไข่ไปใส่ถาดฟัก เมื่อไข่ปลาฟักออกมาเป็นตัวแล้วว่ายน้ำได้ จึงย้ายปลาหมอเทศไปไว้ในบ่ออนุบาลต่อไป

 

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook