สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

สลอด ฤทธิ์ร้ายแรงกว่าที่คิด

สลอด ผลไม้รสเปรี้ยวสีแดงเรื่อ ที่เราต่างคุ้นชินกับชื่อมายาวนาน โดยเฉพาะเรื่องราวของการนำสลอดไปกลั่นแกล้งกันให้เกิดอาการท้องเสีย ที่มักมีเรื่องเล่าขำขันในกลุ่มเพื่อนในวัยเยาว์ที่ทำกันไปด้วยความคึกคะนอง แต่จะมีสักกี่คนที่รู้จักต้นสลอดว่ามีหน้าตาอย่างไร และสลอดนั้นมีประโยชน์บ้างไหม

สลอดนั้นเป็นชื่อเรียกในภาษากลาง แต่คนท้องถิ่นอาจจะเรียกแตกต่างกันไปเช่น มะข่าง มะตอด มะดัง ส้มหลอด หรือชื่อที่สุดเท่ห์อย่างลูกผลาญศัตรู ที่มีตำนานเล่าว่า หากต้องการให้ศัตรูพ่ายแพ้ต้องนำลูกสลอดไปใส่ในอาหารของศัตรู เพื่อจะได้ท้องเสียจนหมดเรี่ยวแรงในการต่อสู้นั่นเอง ส่วนสลอด ภาษาอังกฤษ คือ Croton Oil Plant หรือต้นโครตอนออยล์ เพราะเป็นพืชผลที่ส่วนประกอบของน้ำมันสลอดสูงถึงร้อยละ 56 ที่มีฤทธิ์เป็นยาระบายอย่างรุนแรง หากต้องการให้ฤทธิ์เจือจางลงจะต้องนำสลอดไปคั่วไฟก่อน จะได้ผลเป็นยาระบายอย่างอ่อนแทน

ลักษณะลำต้นสลอดนั้นเป็นพรรณไม้ประเภทเถา ยืนต้น สูงไม่เกิน 4 เมตร ลำต้นมีเปลือกสีเทา ผิวเรียบ แตกกิ่งและแขนงจำนวนมาก มีใบบางๆ สีเขียวทรงรี ใบอ่อนจะเป็นสีแดงก่อนที่จะเปลี่ยนเป็นสีเขียวในที่สุก มีขนอ่อนปกคลุมด้านหน้าของแผ่นใบบางๆ แตกดอกรวมกันเป็นกระจุกบริเวณระหว่างใบ ตัวผลสลอดมีสีแดงเรื่อปนสีส้ม และปกคลุมด้วยจุดสีขาวเล็กๆ ผลทรงรี มีเมล็ดด้านในผลที่สะสมน้ำมันไว้จำนวนมาก มักเกิดขึ้นเองตามธรรมชาติในป่าละเมาะ และที่โล่งต่าง มักพบในประเทศแถบเอเชียที่ร้อนและอบอุ่น เช่น ไทย ศรีลังกา อินเดีย มาเลเซียและจีนตอนล่าง

แต่ละส่วนของต้นสลอดนั้น ถูกนำมาใช้เป็นสมุนไพรได้ครอบคลุมหลายด้าน เริ่มตั้งแต่รากที่นำมาใช้ขับเสมหะ ขับของเสีย และไล่ลม รักษารอยเขียวช้ำบนผิวหนัง ลดอาการบวมเป่งจากการกระแทกของผิวหนัง ใช้รักษาโรคผิวหนังที่เกิดจากโรคเรื้อน และยังขับพิษงูได้ด้วย ส่วนเปลือกไม้จากลำต้นใช้ขับเสมะ ขับเหงื่อ ดอกใช้ทานเพื่อไล่ลมในช่องท้อง ใช้รักษากลากเกลื้อนบนผิวหนัง ใบนำมาโขลกพอกอาหารของโรคฝีอักเสบ เมล็ดใช้รักษาอาการปวดในข้อ ขับน้ำเหลือง บรรเทาอาการที่เกิดในระบบลำไส้ เป็นยาระบาย แก้อาการลมในกระเพาะอาหาร

แม้ว่าจะมีข้อดีและสรรพคุณอยู่มาก แต่สลอดเป็นพืชที่มีพิษรุนแรงโดยเฉพาะฤทธิ์ของยาระบาย ซึ่งหากออกฤทธิ์รุนแรงอาจทำให้ผู้รับประทานเกิดอาการขาดน้ำอย่างรุนแรงจึงถึงขั้นเสียชีวิตได้ ดังนั้นก่อนนำมาใช้ประโยชน์จะต้องศึกษาอย่างดีและไม่ควรนำมาใช้ด้วยตนเองโดยไม่ปรึกษาแพทย์พื้นบ้านที่เข้าใจและควบคุมฤทธิ์ได้อย่างดี ไม่อย่างนั้นอาจเป็นอันตรายได้ครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook