สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ผักอินทรีย์ ผักเพื่อสุขภาพและสิ่งแวดล้อมปลูกได้ไม่ยาก

การทำการเกษตรอินทรีย์ในบ้านเรานั้น นอกจากจะปลูกพืชไว้ทานหรือบริโภคเองแล้ว ก็ยังสามารถปลูกไว้เพื่อส่งขายในตลาดเกษตรกรรมรวมทั้งในภาคอุตสาหกรรมอีกด้วย โดยต้องทำคำนึงถึงปริมาณผลผลิตผลที่ได้จากการเพาะปลูกผักและผลไม้ในแต่ละฤดูกาล และความปลอดภัยและสมดุลในธรรมชาติ เพื่อที่จะได้ทำเกษตรกรรมได้ในระยะเวลายาวนานมากยิ่งขึ้น และยังลดปัญหามลภาวะและสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้น ไม่ว่าจะเป็นปัญหาดินขาดแร่ธาตุอาหาร หรือ ปัญหาสารเคมีตกค้างในพืชผักต่าง ๆ ทำจนเกิดการพัฒนาการนำเทคโนโลยีต่าง ๆ มาใช้กับการปลูกพืชและเลี้ยงสัตว์ต่างๆ โดยปราศจากการใช้สารเคมีและยังลดต้นทุนการผลิตทำให้สามารถปลูกผักอินทรีย์ส่งขายในตลาดได้ราคาดีและได้มาตรฐาน เพราะได้รับการรับรองจากสำนักงานมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ ทำให้เพื่อนๆเกษตรกรในบ้านเราที่ปลูกพืชผักอินทรีย์มีโอกาสส่งออกผักอินทรีย์ไปขายต่างประเทศได้

ผักอินทรีย์ กับ ผักไร้สารเคมีนั้นมีความแตกต่างกันอยู่พอสมควร เพราะผักอินทรีย์เป็นผักที่ปลูกโดยใช้กรรมวิธีในการปลูกตั้งแต่การพัฒนาพันธุ์พืช การขยายพันธุ์ วัสดุปลูก การให้ปุ๋ย แหล่งน้ำและดินที่ใช้ดูแล ไปจนถึงกระบวนเก็บเกี่ยว บรรจุและขนส่ง จะต้องอยู่ภายใต้ระบบอินทรีย์ ตามมาตรฐานเท่านั้น โดยทุกกระบวนการจะต้องไม่มีสารเคมีเจือปนและเกี่ยวข้องเลย แต่ในการปลูกผักปลอดสารพิษ หรือ ไร้สารเคมี ยังสามารถใช้สารเคมีในการผลิตได้ แต่ต้องไม่เกินตามที่มาตรฐานการคุ้มครองผู้บริโภคกำหนดไว้ อีกทั้งการปลูกผักไร้สารเคมียังไม่ต้องคำนึงถึงสภาพแวดล้อมอย่างเช่น ทำเลที่ตั้ง หรือแหล่งน้ำเท่ากับการปลูกผักอินทรีย์อีกด้วยครับ

การปลูกผักอินทรีย์สามารถทำได้ง่ายๆ โดยผักที่ปลูกสวนใหญ่ควรเป็นผักที่สามารถปลูกไว้บริโภคเองได้และค้าขายในตลาดได้ด้วยครับ เช่น ผักกาด ผักบุ้ง ผักคะน้า ผักขม หรือ ฟักทอง เป็นต้น โดยเริ่มจากการทำเลที่ตั้งของพื้นที่ปลูกต้องห่างจากมลพิษต่างๆ เช่นห่างไกลโรงงานหรือแหล่งที่มีสารพิษเจือปนในดิน เป็นต้น โดยการเตรียมแปลงดินนั้นให้เรานำดินร่วนที่อุดมสมบูรณ์ มีไส้เดือนและมูลไส้เดือนอยู่ในดิน ผสมกับปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมัก ซึ่งปุ๋ยดังกล่าวสามารถทำเองได้ง่ายๆ โดยใช้ มูลหมู มูลไก่ที่เลี้ยง หรือ ซากพืช มูลไส้เดือนเป็นส่วนผสม เมื่อเตรียมดินแล้วก็ทำการเพาะเมล็ดไว้ให้ได้ต้นกล้า จากนั้นก็นำต้นกล้าไปปลูกลงแปลงได้ วิธีการดูแลผักที่ปลูกก็หมั่นรดน้ำเป็นประจำทุกวัน โดยแหล่งน้ำจะต้องได้รับการตรวจสอบว่าไม่มีสารเคมีเจือปน และหากมีแมลงศัตรูพืชมารบกวน ให้ใช้น้ำส้มควัน หรือ น้ำหมักชีวภาพ รวมถึงชีวภัณฑ์ธรรมชาติต่างๆ เพื่อไล่แมลงดังกล่าวแทนสารเคมี เน้นการให้ปุ๋ยคอกและปุ๋ยหมักเพื่อเพิ่มผลผลิตให้พืชผักได้ผลผลิตมากขึ้นและมีคุณภาพดีปลอดภัยไร้สารเคมี เพียงเท่านี้ก็สามารถปลูก ผักอินทรีย์ ได้อย่างง่ายดายแล้วล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook