สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

รากแก้วและรากแขนง

รากแก้วและรากแขนง คือรากของพืชที่คนส่วนใหญ่ยังเกิดความสับสนว่ามีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร แต่ก่อนอื่นเราควรจะต้องมาทำความรู้จักกับ “ราก” ให้เข้าใจมากขึ้นก่อน ราก จะทำหน้าที่ยึดโยงลำต้นกับดินหรือเกาะกับวัสดุต่างๆ รวมไปถึงทำหน้าที่ค้ำลำต้นในพืชบางชนิด และยังดูดซับแร่ธาตุอาหารต่างๆ และน้ำที่มีอยู่ในดินลำเลียงไปยังลำต้นและส่วนต่างๆ ของพืชต่อไป สำหรับพืชบางชนิดที่มีรากที่มีลักษณะเป็นหัวใต้ดินจะใช้รากในการสะสมอาหาร ยกตัวอย่างเช่น มันเทศ แครอท เป็นต้น โดยปกติแล้วรากจะเจริญเติบโตโดยเพิ่มความยาวและขนาดชอนไชไปในดินในลักษณะต่างๆ กันไป

รากของพืชนั้นบ่งออกเป็น รากแก้ว รากแขนงและรากพิเศษ รากแก้วมีชื่อภาษาอังกฤษว่า Primary root และ Tap root เป็นรากที่งอกจากเอ็มบริโอของพืช  เพื่อเติบโตเป็นต้นพืชต้นใหม่ ถือว่าเป็นรากหลัก เจริญเติบโตโดยการชอนไชลงไปในดิน โคนรากแก้วจะมีขนาดใหญ่และมีปลายรากที่เล็กและเรียว โดยจะพบการเจริญเติบโตได้ดีในพืชใบเลี้ยงคู่ แต่ในพืชใบเลี้ยงเดี่ยวนั้นจะพบรากแก้วในช่วงเริ่มงอกและหายไปหลังจากนั้น และจะมีรากพิเศษงอกมาแทน สำหรับรากแขนง มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Secondary Root หรือ Lateral Root ซึ่งเป็นรากอื่นๆ ที่แตกแขนงออกมาจากรากแก้ว โดยสามารถสังเกตได้ว่า รากแขนงจะไม่แทงตัวลงดินในแนวตั้ง แต่มักจะงอกจะงอกในแนวนอนหรือเอียงกับผิวดิน ส่วนรากพิเศษนั้น มีชื่อภาษาอังกฤษว่า Adventitious root เป็นรากที่แตกต่างจากรากแก้วและรากแขนง โดยอาจจะงอกจากลำต้น หรือส่วนอื่นๆ ของต้นพืช เช่น รากค้ำจุน ที่มักจะงอกจากบริเวณโคนต้นไม้และกิ่งไม้เติบโตพุ่งลงดินและยึดเกาะดินไว้เพื่อทำหน้าที่ค้ำลำต้นไว้ สังเกตได้จากรากค้ำจุนของต้นไทรและต้นอ้อย ส่วนรากหายใจ เป็นรากพิเศษที่งอกจากน้ำเพื่อรับอากาศ และยังมีรากสังเคราะห์แสงที่รากจะมีสีเขียวงอกจากลำต้นและกิ่ง เป็นลักษณะรากอากาศ เพื่อทำหน้าที่สังเคราะห์แสงให้แก่ต้นพืช และรากพิเศษอีกชนิดคือรากสะสมอาหารที่เปลี่ยนจากรากแก้วมาเป็นหัวขนาดใหญ่เพื่อสะสมแป้ง น้ำตาล ไว้

นอกจากรากแก้วและรากแขนง ยังมีรากอีกชนิดที่เราได้ยินกันบ่อยคือ รากฝอย ซึ่งจะเป็นรากพิเศษที่ขนาดเล็ก ที่เจริญบริเวณรอบโคนต้นใกล้กับรากแก้ว เมื่อรากแก้วชะงักการเติบโตและตายไป รากฝอยจะทำหน้าที่ยึดลำต้นไว้กับดิน ดูดซับธาตุอาหารและน้ำแทนรากแก้วนั่นเองครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook