ลูกแพร์ มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Pyrus communis ชื่อสามัญคือ European pear มีถิ่นกำเนิดในยุโรปกลางและยุโรปตะวันออก และมีแหล่งผลิตในยุโรปอเมริกาเหนือและออสเตรเลีย นอก ส่วนลูกแพร์สายพันธุ์ Nashi pear หรือที่คนไทยเราเรียกว่า ลูกแพร์ญี่ปุ่น และพันธุ์ลูกผสม ya pear จะมีการปลูกกันอย่างแพร่หลายในเอเชียตะวันออก เป็นผลไม้ที่นิยมบริโภคกันทั่วโลก
ต้นแพร์ เป็นไม้ให้ผลประเภทยืนต้นขนาดไม่ใหญ่ แตกกิ่งก้านสาขาออกเป็นทรงพุ่มขนาดพอดี ลำต้นมีเปลือกไม้สีน้ำตาล เนื้อไม้แข็ง กิ่งก้านมีความเหนียว ยืดหยุ่นสูง รากใตดินเป็นระบบรากแก้ว แตกแขนงออกเป็นรากฝอยและรากแขนงเป็นแนวระนาบอยู่ใต้ดินจำนวนมาก แตกใบเดี่ยวรูปทรงคล้ายไข่ ใบสีเขียวมันวาว ขอบใบเรียบบิดเป็นลอนตลอดทั้งใบ ปลายใบแหลม องใบมีสีเขียวอ่อนกว่าแผ่นใบ ไม่มีขน ใบไม่สมมาตร เส้นกลางใบชัด ก้านใบยาว ผลดอกสีขาวเป็นกระจุกตามซอกใบ ดอกเป็นดอกเดี่ยว มีกลีบดอก 5 กลีบ มีเกสรตรงกลางดอกชูขึ้นสีเหลือง มีก้านดอกเห็นได้ชัดเจนและยาว
ลูกแพร์ที่ได้จะเป็นผลเดี่ยว รูปทรงคล้ายระฆังและชมพู่ ส่วนหัวมน ขนาดเล็ก เรียวยาว แล้วขยายใหญ่ขึ้นบริเวณปลายผล ทำให้มีลักษณะกลมใหญ่ ผิวเปลือกมีหลาสีแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ ทั้งสีเขียว เขียวปนเหลือง เขียวปนแดง และน้ำตาลทอง เป็นต้น โดยส่วนใหญ่จะมีเปลือกผลที่เรียบเนียน ผิวเปลือกบางมาก เมื่อปอกเปลือกจะมีความฉ่ำน้ำของเนื้อ ผิวด้านในผลมทั้งสีเขียวอ่อน สีขาว ตามแต่พันธุ์ เนื้อผลอุ้มน้ำ กรอบ กลิ่นของผลไม้หอมมีเอกลักษณ์ รสหวาน แกนกลางของผลจะมีความแข็งและมีเมล็ดสีน้ำตาลแก่อยู่ภายใน
ลูกแพร์ในประเทศไทยเรานั้น เป็นผลไม้ที่นำเข้ามาจากต่างประเทศ ทั้งจากจีน ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย ยุโรปและอเมริกา เพราะแพร์เป็นพืชเมืองหนาว ที่จะเจริญเติบโตได้ดีและให้ผลผลิตสูงเมื่ออยู่ในสภาพแวดล้อมที่มีภูมิอากาศเย็น ทั้งนี้การปลูกแพร์ในต่างประเทศนั้น ก็มีกระบวนการขยายพันธุ์เหมือนไม้ผลทั่วไป โดยจะใช้การเพาะเมล็ด ตอนกิ่ง ทาบกิ่งหรือติดตาก็ได้ และเมื่อได้ต้นกล้าพันธุ์แล้วจึงนำมาเพาะลงในดินที่ระบายน้ำได้ดีและเป็นดินที่อุดมไปด้วยอินทรียวัตถุ เก็บความชื้นในดินได้ดี อยู่ในทำเลที่รับแสงได้ดีตลอดทั้งวัน เมื่อปลูกแล้วจึงให้น้ำให้ปุ๋ยอย่างสม่ำเสมอ ใช้เวลาไม่เกิน 3 ปีนับจากวันที่นำต้นกล้าลงดิน จึงสามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตได้ อย่างไรก็ตาม ในกระบวนการเก็บเกี่ยวจะต้องใช้ความระมัดระวังเรื่องความช้ำของผลผลิตสูงมาก เพราะลูกแพร์มีผิวเปลือกที่บาง และเมื่อนำมาเก็บรักษาหรือเตรียมลำเลียงเพื่อจัดส่งออกสู่ตลาดจะต้องมีการห่อหุ้มด้วยวัสดุกันกระแทกเสมอ เพื่อให้ผลผลิตอยู่ในสภาพดีจนถึงมือผู้บริโภค