สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นอโศกอินเดีย ไม้ริมรั้วยอดนิยม

ต้นอโศกอินเดีย ต้นไม้สูงชะลูดที่ทำให้ระลึกถึงพระอโศกที่เกี่ยวพันกับการคลายทุกข์คลายโศก เป็นไม้ที่มีความเกี่ยวพันกันกับวัฒนธรรมและศาสนา จนถูกเรียกขายกันเป็นภาษาอังกฤษว่า The Buddha Tree และด้วยลำต้นที่สูงตรงจึงถูกนำไปใช้ทำเป็นเสากระโดงเรือ จึงมีชื่อภาษาอังกฤษอีกชื่อ ว่า Mast tree ซึ่งแปลว่าต้นกระโดงเรือนั่นเอง เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศอินเดีย ถูกนำเข้ามาในประเทศไทยราวปลาย พ.ศ. 2400 เป็นที่รู้จักของคนไทยเราไม่กี่สิบปีมานี้ โดยเริ่มแรกนำเข้ามาปลูกเป็นไม้ประดับที่ให้ดอกที่มีกลิ่นหอม

ย้อนไปเมื่อหลายสิบปีก่อน ไม้ชนิดนี้เคยเป็นไม้ที่ถูกเชื่อว่าเป็นไม้แห่งความโศก เพราะมีคำว่าโศกอยู่ในชื่อเรียก จึงไม่นิยมให้ปลูกภายในบริเวณบ้าน เราเชื่อว่าจะทำให้เกิดการสูญเสียและเกิดความโศกเศร้าได้ แต่เมื่อเวลาผ่านไป มีการตีความว่า อโศก มีความหมายว่า ไม่มีความโศก จึงทำให้เกิดการยอมรับในการนำมาปลูกในอาณาบริเวณบ้านมากขึ้น และเชื่อกันว่าเมื่อปลูกไว้แล้วจะทำให้ปราศจากทุกข์โศก มีแต่ความยินดีปรีดา อีกทั้งต้นอโศกอินเดียนั้นเป็นต้นไม้ที่มีฟอร์มสวย สามารถตกแต่งสวนได้ในหลายสไตล์ จึงทำให้นักตกแต่งสวนหรือภูมิสถาปนิกเลือกใช้กันบ่อยมากขึ้น

ลักษณะของต้นอโศกอินเดีย หรือ อโศกเซนต์คาเบรียล จะเป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงใหญ่ มีความสูงระหว่าง 10-20 เมตร มีทรงพุ่มทรงปิรามิดแคบสูง 1-2 เมตร ไม่ผลัดใบ เลือกของลำต้นเป็นสีน้ำตาลแดง มีร่องและรอยด่างกระขาวปกคลุมกระจายไปทั้งลำต้น กิ่งก้านจะลู่ลง ใบมีลักษณะแหลมแคบคล้ายดาบ ออกเป็นใบเดี่ยวแบบเรียงสลับ แผ่นใบหนาและเหนียว เรียบ สีเขียวเข้มมันวาว แตกดอกเป็นสีเขียวอมขาวเป็นกระจุกที่ปลายกิ่งห้อยย้อยสวยงาม ประกอบด้วยดอกย่อยขนาดเล็ก ดอกมีกลิ่นหอมอ่อนๆ ให้ผลรูปทรงไข่กลับเป็นกลุ่ม สผลมีสีเขียวแต่จะกลายเป็นสีดำเมื่อสุก ด้านในผลมีเมล็ดเดี่ยวสีน้ำตาลอ่อน

การขยายพันธุ์สามารถทำได้ด้วยการเพาะเมล็ด ในดินร่วนที่ระบายน้ำได้ดี ซึ่งส่วนใหญ่นิยมปลูกเป็นแนวรั้วเพื่อชาวยบดบังสายตาจากภายนอก และใช้เป็นแนวกันลมได้ดี และยังให้ร่มเงาและป้องกันฝุ่นได้อีกด้วย หากไม่ต้องการให้ต้นสูงมากสามารถทำการตัดยอดเพื่อควบคุมสูงได้ เราจึงพบเห็นได้มากในหมู่บ้านจัดสรร ที่หลายบ้านเลือกปลูกต้นอโศกอินเดียเป็นแนวรั้ว จนทำให้ต้นไม้ชนิดนี้เป็นที่รู้จักกันอย่างกว้างขวางมากขึ้น

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook