ดินสไลด์เป็นเรื่องที่หลายคนได้พบเจอในพื้นที่ของตนเองจนต้องหาวิธีป้องกันไว้ล่วงหน้า โดยเฉพาะบริเวณที่ลิ่มตลิ่งและบริเวณเนินเขาต่างๆ ที่มีโอกาสจะเกิดการพังทลายของดินได้สูง อันที่จริงแล้วการเกิดดินสไลด์นั้นมักพบได้บ่อยในพื้นที่ที่มีความลาดชันสูง และสำหรับพื้นที่ทั่วไปที่ไม่ลาดชันที่เกิดการถล่มตัวของดินนั้นมักจะเกิดจากแนวลอยเลื่อนและบริเวณที่มีทางน้ำที่มีกระแสเชี่ยวกราดไหลผ่านหรือบริเวณที่มีการผุพังของชั้นดินและหินจนเกิดเป็นดินทับถมกัน จึงเกิดการพังถล่มลงมาเมื่อมีน้ำไหลผ่านลงสู่ชั้นใต้ดินในปริมาณมาก
วิธีการเคลื่อนที่ของดินสไลด์นั้นถูกแบ่งกันออกเป็น 2 รูปแบบ คือ แบบ Spoon Shaped เป็นการเคลื่อนที่ของดินในลักษณะคล้ายรูปช้อนหากเรามองจากด้านบนลงมา ที่มักจะมีการสไลด์อย่างค่อยเป็นค่อยไป และมักจะเกิดกับบริเวณที่ใช้ดินจากแหล่งอื่นมาถมและพื้นที่ที่มีชั้นดินหนาแน่น อีกรูปแบบหนึ่งคือการเคลื่อนที่ตามโคงสร้างของดิน ซึ่งจะเกิดตามทิศทางการเรียงตัวของชั้นหินและดิน เกิดขึ้นบริเวณรอยแตกตามหลักธรณีวิทยา โดยหินที่มีโอกาสผุพังมาก จะเป็นหินประเภทหินแกรนิตและหินภูเขาไฟ ซึ่งเมื่อผุพังจะทำให้ชั้นดินกลายเป็นดินเหนียวหรือดินเหนียวปนดินร่วน ส่วนพื้นที่ที่เป็นดินดานจะทำให้เกิดดินเหนียวปนทรายเมื่อเกิดการผุพังแต่มีความหนาแน่นไม่มากเท่ากับหินแกรนิต ทั้งนี้รอยเลื่อน รอยแตก ต่างๆ ก็ยังเป็นปัจจัยสำคัญในการเกิดการเคลื่อที่ของดินอีกด้วย
วิธีกันดินสไลด์ที่นิยมใช้กันโดยทั่วไป คือ การปลูกพืชคลุมดินเพื่อยึดดินเข้าด้วยกันผ่านรากของพืช ซึ่งพืชที่นิยมปลูกมาก คือ หญ้าแฝกที่มีระบบรากที่แข็งแรงและมีรากลึกสามารถยึดดินให้เกาะตัวกันแน่น หรือบางครั้งอาจจะนำต้นไผ่ชนิดที่มีรากแผ่หนาแน่นและลึกมาปลูกก็ได้ สามารถเก็บเกี่ยวผลผลิตของไผ่ไปใช้ประโยชน์ได้หลากหลายอีกด้วย แต่หากพื้นที่ของเราอยู่บริเวณริมตลิ่งและป้องกันดินสไลด์อาจจะใช้วิธีการบดอัดดินผสมหินบริเวณดังกล่าวให้แน่นเพื่อป้องกันไม่ให้น้ำเกาะเซาะได้ หรือหากมีงบประมาณอาจจะนำหินมาเรียงและโบกทับด้วยปูนเพื่อให้เกิดการป้องกันได้ยาวนานมากขึ้น
ปัจจุบันมีวิธีต่างๆ ที่เป็นเทคโนโลยีใหม่ๆ ที่สามารถนำมากันดินสไลด์ได้ ทั้งกำแพงกันดินสำเร็จรูป พลาสติกกันดินสไลด์ แต่อย่างไรก็ตามในกระบวนการป้องกันทั้งหลาย ควรมีการพิจารณางบประมาณเป็นที่ตั้ง เพราะไม่มีวิธีการใดสามารถป้องกันปัญหาดังกล่าว 100 เปอร์เซ็นต์