สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หญ้าหวายข้อ ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน

หญ้าหวายข้อเป็นพืชล้มลุกในตระกูลหญ้า พบมาช้านานในประเทศที่มีภูมิอาอากาศร้อนและอบอุ่น โดยเฉพาะในประเทศจีนและประเทศต่างๆ ในแถบเอเชียอาคเนย์ รวมไปถึงตอนใต้ของทวีปยุโรป ทวีปแอฟริกาและประเทศออสเตรเลีย โดยหญ้าหวายข้อที่พบในแต่ละพื้นที่จะมีความแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์และมีชื่อวิทยาศาสตร์ที่แตกต่างกันไป เช่น Hemarthria altissima ที่มีชื่อสามัญว่า Limpograss, African Jointgrass, Batavian quick grass, Halt grass จะพบได้ในประเทศจีน อินเดีย หมู่ประเทศในอินโดจีน บอร์เนียว มาดากัสการ์ สเปน อเมริกาใต้ อิตาลี กรีซ ส่วนสายพันธุ์ที่พบในไทยเรานั้นส่วนใหญ่จะมีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Hemarthria debilis, Hemarthria compressa และสายพันธุ์ Hemarthria stolonifera โดยสามารถพบเห็นหญ้าหวายข้อเหล่านี้ได้ในทุกภูมิภาคของประเทศไทย เพราะเป็นหญ้าที่ขึ้นได้ในทุกสภาพดิน ไม่ว่าจะทำเลที่มีน้ำขังหรือแห้งแล้งก็ตาม

แต่ก่อนแต่ไร เรามักจะพบเห็นหญ้าหวายข้อขึ้นเองตามธรรมชาติตามทุ่งกว้างต่างๆ ซึ่งเกษษรกรผู้เลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องนิยมนำสัตว์เลี้ยงของตนไปเล็มกินหญ้าเหล่านี้เป็นอาหาร หากพบตามแนวคันนาหรือหัวไร่ปลายนาที่มีพื้นที่จำกัด ก็จะทำการตัดหญ้าไปเลี้ยงโค กระบือ ของตน นอกจากนี้ยังได้นำหญ้าชนิดนี้ไปใช้เป็นปลูกคลุมดิน ป้องกันไม่ให้เกิดการพังทลายของหน้าดิน โดยเฉพาะบริเวณคันดินต่างๆ ที่เพิ่งทำการขุดหรือยกสูง เช่น บ่อดิน คันนา เป็นต้น แต่หญ้าชนิดนี้เป็นหญ้าที่เจริญเติบโตไวมาก ขยายพันธุ์ได้เร็ว แผ่ขยายกินพื้นที่จนอาจจะแย่งธาตุอาหารของต้นพืชหลักที่เราทำการปลูกดูแล และยังกลายเป็นหญ้ารกที่เป็นแหล่งอาศัยของสัตว์ต่างๆ เช่น งู และหนู และเป็นวัชพืชที่มีรากหยั่งลงดินลึกทำให้ควบคุมและกำจัดได้ยาก ดังนั้นหากไม่มีวัตถุประสงค์ที่จะนำหญ้ามาเป็นอาหารสัตว์ จะต้องรีบทำการควบคุมหญ้าหวายข้อตั้งแต่แรกเริ่ม โดยการขุดเหง้าเพื่อกำจัดและทำการไถพรวนซ้ำหลายๆ รอบ

ปัจจุบัน หญ้าหวายข้อ ถูกนำมาใช้เป็นหญ้าอาหารสัตว์ เนื่องจากมีโปรตีนสูงถึง 9-10% ซึ่งมีอัตราที่สูงกว่าหญ้าอาหารสัตว์หลายชนิด อีกทั้งเป็นหญ้าที่มีการแตกไหลเร็ว ปลูกง่าย ทนต่อสภาพแวดล้อมดีทำให้ปลูกได้ทุกภาค และเป็นอาหารที่กระบือและโคชอบ ใช้พื้นที่ในการปลูกไม่มากนักแต่ให้ผลผลิตสูง ทั้งนำมาปลูกเพื่อให้เป็นอาหารสัตว์ของตนและผลิตเพื่อขายให้แก่ฟาร์มโค กระบือ ต่างๆ โดยทำการปลูกโดยใช้ไหลที่มีความยาวราว 1 ไม้บรรทัด เพียง 15 เส้น ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร หากปลูกช่วงแล้งอาจต้องให้น้ำเป็นครั้งคราว แต่หากมีฝน สามารถปล่อยให้เติบโตเองได้ตามธรรมชาติ ราว 4-5 เดือนก็สามารถเก็บผลผลิตได้แล้ว ได้ผลผลิตไวและสามารถเก็บซ้ำได้ทุกๆ 2 เดือนกันเลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook