สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลายี่สกเทศ ปลาโตไว ก่อนเลี้ยงต้องวางแผนลงทุนให้ดี

ปลายี่สกเทศ หรือหลายคนรู้จักในชื่อปลาโรฮู่ เป็นปลาที่อยู่ในจำพวกเดียวกันกับปลายี่สกไทยและปลาตะเพียน ซึ่งจัดว่าเป็นปลาน้ำจืดที่มีขนาดลำตัวที่ใหญ่ แม้ว่าเป็นปลาที่มีถิ่นดั้งเดิมอยู่ในประเทศอินเดีย อาศัยอยู่ตามแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติที่มีใต้น้ำมีหินกรวดและมีแพลงตอนสีเขียวจำนวนมาก ถูกนำมาเลี้ยงในประเทศไทยมายาวนานมากกว่า 50 ปี โดยในเอกสารแนะนำปลายี่สกเทศ ของสถาบันประมงน้ำจืดแห่งชาติ กรมประมงได้ระบุว่า ปลาชนิดนี้ได้นำเขามาในประเทศไทยในปี พ.ศ.2511และ 2512 และกรมประมงได้ดำเนินการเพาะขยายพันธุ์ในปี พ.ศ.2514 ได้สำเร็จ นำไปปล่อยในแหล่งน้ำ 3 แห่ง ได้แก่ อ่างเก็บน้ำสีทน อ่างเก็บน้ำเลิงจานและอ่างเก็บน้ำลำตะคอง

ปลายี่สกเทศเป็นปลาที่มีลำตัวยาวกลม ด้านข้างมีลักษณะแบน มีเกล็ดปกคลุมทั้งลำตัว บนเกล็ดจะมีสีแดงแต้มอยู่ หัวปลากว้างและแบน ริมฝีปากหนา บริเวณริมฝีปากบนและริมฝีปากล่างจุดละ 1 คู่ สีของลำตัวด้านบนเป็นสีเทาดำ ด้านข้างลำตัวทั้งสองข้างมีสีที่อ่อนลงเป็นลำดับและเริ่มเป็นสีขาวเงินบริเวณท้องด้านล่าง ครีบปลามีสีชมพูขาวทุกจุด ครีบหางมีแฉกเป็นรูปตัววีขนาดใหญ่ การสังเกตเพศของปลาชนิดนี้จะเห็นได้ชัดเจนในช่วงวางไข่ โดยครีบหูของปลาเพศผู้จะมีผิวสัมผัสที่สากฤดูวางไข่

ปลายี่สกเทศเพศผู้จะมีความพร้อมในการสืบพันธุ์ตั้งแต่ช่วงเดือนพฤศจิกายน และจะมีการวางไข่เยอะที่สุดในช่วงระหว่างเดือนมกราคมไปจนถึงเดือนกุมภาพันธ์ โดยปลาเพศผู้และเพศเมียจะจับคู่กันว่ายทวนน้ำขึ้นไปที่แหล่งวางไข่ ซึ่งมักจะเป็นเกาะแก่งกลางแหล่งน้ำ ที่มีกรวดและทรายอยู่ใต้พื้นน้ำ อุดมไปด้วยแพลงตอนและสัตว์หน้าดิน และมีกระแสน้ำไหลตลอด ในช่วงบ่ายๆ จะเริงร่าหยอกล้อกับคู่ของมันร่วมกับฝูงปลาแต่ละคู่ที่ว่ายมาวางไข่เช่นกัน เมื่อถึงเวลาพระอาทิตย์ตกดินก็จะว่ายน้ำออกไปวางไข่กลางแหล่งน้ำ ทั้งนี้หากเกิดการเปลี่ยนแปลงระดับน้ำกระทันหันหรือเกิดฝนหลงฤดูเกิดขึ้นระยะเวลาในการวางไข่จะถูกเลื่อนออกไป

ปลายี่สกเทศยังเป็นที่ต้องการของตลาด เพราะมีรสชาติของเนื้อที่ดี สำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรที่สนใจจะเลี้ยงปลายี่สกเทศนั้น สามารถหาพันธุ์ปลาได้จากแหล่งน้ำจืดตามธรรมชาติหรือติดต่อขอซื้อพันธุ์ปลาได้จากหน่วยงานของกรมประมง ที่จะมีการผสมเทียมทุกปีและผลิตออกมาในจำนวนมาก และควรวางแผนการทำบ่อปลาอย่างเหมาะสมกับพื้นที่ เพราะปลายี่สกเป็นปลาที่มีขนาดลำตัวใหญ่และมีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วมาก จึงไม่ควรเลี้ยงอย่างหนาแน่นเกินไป และมีต้นทุนในการเลี้ยงค่อนข้างสูง ก่อนการลงทุนใดๆ ควรทำการศึกษาอย่างรอบด้าน

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook