สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปลาเสือตอ ปลาลายเสืยแสนงาม

ปลาเสือตอ ปลาสีสันงดงามสีเหลืองสดใสที่ถูกคาดด้วยแถบลายสีดำ คล้ายลายเสือ จนเป็นที่มาของชื่อ “เสือตอ” ที่แต่เดิมในลำน้ำเจ้าพระยาและบึงบอระเพ็ดจะอุดมไปด้วยปลาชนิดนี้ แต่ทุกวันนี้ปลาแสนงามชนิดนี้ตามแหล่งน้ำธรรมชาติเดิมๆ กลับลดจำนวนลงจนสูญพันธุ์ ถูกจัดเป็นสัตว์ป่าคุ้มครองจำพวกปลา ตาม พรบ.สงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า พ.ศ.2535 ที่ไม่สามารถครอบครอง ล่า ค้า เพาะพันธุ์ นำเข้า ส่งออกโดยไม่ได้รับอนุญาต จนปัจจุบันนี้ผู้ใดที่มีความประสงค์จะครอบครองต้องขออนุญาตนำเข้ามาจากต่างประเทศและขออนุญาตครอบครองอย่างถูกต้อง โดยสนนราคาปลาชนิดนี้ที่ต้องนำเข้ามาจัดว่าราคาไม่เบากันเลย

ในอดีตปลาเสือตอจะชอบอาศัยอยู่ตามตอไม้ขนาดใหญ่ใต้น้ำหรือแฝงตัวอยู่ในพรรณไม้น้ำ ถูกแบ่งออกกเป็น 5 ชนิด คือ เสือตอลายเล็ก เสือตอลายใหญ่ที่พบในไทยและประเทศเพื่อนบ้าน เสือตอลายคู่ที่พบในแถบอินโดนีเซีย บริเวณเกาะสุมาตราและเกาะบอร์เนียว เสือตอปาปัวนิวกินีและกะพงลาย โดยแต่ละชนิดมีความแตกต่างกันในส่วนของลักษณะแถบและขนาดแถบ บางชนิดมีลายพาดผ่านทั้งตัว บางชนิดมีเพียงลายแซมขึ้นมา

ปลาเสือตอลายใหญ่ ที่แต่เดิมพบมากในแม่น้ำหลายสายของประเทศไทย เช่น แม้น้ำน่าน แม่น้ำเจ้าพระยา และบึงบอระเพ็ด จนมีชื่อสามัญภาษาอังกฤษว่า Siamese Tiger Perch เป็นปลาที่มีลำตัวอ้วนหนา ลำตัวมีสีเหลืองสด มีแถบใหญ่สำดำ 5 แถบพาดขวางลำตัว แต่ปัจจุบันไม่พบในประเทศไทยแล้ว แต่ยังสามารถพบได้ในประเทศกัมพูชาและเวียดนาม จัดว่าเป็นปลาที่เนื้อน่ารับประทาน รสชาติอร่อย และเคยเป็นเมนูชื่อดังประจำนครสวรรค์ด้วย

ปลาเสือตอลายเล็ก มักจะพบได้ตามพื้นที่ลุ่มเลียบลำน้ำโขงและลำน้ำสาขา ไล่มาตั้งแต่ประเทศจีนตอนใต้ จรดประเทศเวียดนาม ปลาชนิดนี้จะมีลำตัวที่แบน มีแถบสีดำขนาดเล็กและมีจำนวนแถบเพียง 4 แถบเท่านั้น ขณะที่เสือตอลายคู่ ที่พบได้ในอินโดนีเซีย จะมีแถบถึง 7 แถบ ส่วนเสือตอปาปัวนิวกินีจะมีจุดกระจายระหว่างแถบสีดำแต่ละแถบ และกระพงลายที่มักพบในบริเวณน้ำกร่อยจะมีสีลำตัวที่ซีดจางกว่าปลาเสือตอต่างๆ ที่ได้กล่าวมาแล้ว

ปลาเสือตอที่เคยเป็นอาหารอันโอชะในอดีตของบ้านเรา ปัจจุบันกลายเป็นปลาหายาก จนเกิดเป็นตลาดที่มูลค่าสูง โดยเฉพาะในประเทศญี่ปุ่นนั้น ราคาซื้อหาปลาพันธุ์แท้ที่มีความสวยงาม สีของลำตัวสดใส จัดจ้าน และมีความแข็งแรงสมบูรณ์นั้นนักสะสมปลาสวยงามให้ราคาแพงถึง 2-3 แสนบาทกันเลยทีเดียว

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook