สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ปุ๋ยยูเรียทำไมใครๆ ก็เอ่ยถึง?

ปุ๋ยยูเรีย เป็นศัพท์แสงที่เราได้ยินกันบ่อยมาก และหลายครั้งที่เราก็ใส่ปุ๋ยยูเรียไปตาม ๆ ที่เขาบอกมา โดยบางทียังไม่รู้จักกับตัวตนที่แท้จริงของปุ๋ยชนิดนี้เลยนะครับ เพื่อนๆ บางท่านนำไปบำรุงพืช บางท่านนำไปคลุกเคล้ากับอาหารเลี้ยงสัตว์ แต่ที่เห็นเยอะที่สุดคือใช้ในการทำนาปลูกข้าว เพราะแค่เติมปุ๋ยยูเรียเพียงเล็กน้อยก็เร่งไนโตรเจนในแปลงให้มีปริมาณเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว

ปุ๋ยยูเรีย เป็นปุ๋ยเคมีที่มีการนำเข้าจากต่างประเทศสูงที่สุด เพราะยูเรียเป็นสารสังเคราะห์ไนโตรเจนที่ดินส่วนใหญ่มีธาตุไนโตรเจนไม่เพียงพอสำหรับการบำรุงพืชนัก เมื่อเราเติมยูเรียไปแล้วรากพืชจะดูดซึมนำไปใช้ เพื่อกระตุ้นการเจริญเติบโตของพืชผักโดยเฉพาะผักล้มลุก  ที่ปุ๋ยยูเรียจะช่วยบำรุงให้พืชต่างๆ มีใบเขียว ช่วยสังเคราะห์แสงได้ดีขึ้น ทำให้พืชเติบโตดี ใบสมบูรณ์ อวบอิ่ม ดก

ปุ๋ยยูเรียทำไมใครๆ ก็เอ่ยถึง?

แต่อย่างไรก็ตาม เกษตรยุคใหม่ อย่างเราก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการใช้สารเคมีกัน เพราะอาจมีผลกระทบในแง่ลบในระยะยาว อย่างเช่นการใช้ปุ๋ยยูเรียนี้ ไม่ใช่แค่บำรุงต้นไม้ครับ แต่ยังมีผลในการทำลายจุลินทรีย์และวัตถุอินทรีย์ต่างๆ ในดินแปลงปลูกอีกด้วย ทำให้ปุ๋ยที่เราเติมไปนั้นสร้างประโยชน์ได้เพียงบางส่วน เช่นเราใช้ปุ๋ยยูเรีย 10 ส่วน พืชจะได้ใช้ประโยชน์เพียง 5-6 ส่วนเท่านั้น ที่เหลือจะถูกชะล้างไปหมด ทำให้เพื่อนๆ เกษตรกรต้องเติมปริมาณเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ซึ่งไม่เป็นผลดีต่อพืชผลและสุขภาพของเราเองครับ

ปุ๋ยยูเรียนับว่าเป็นสารสังเคราะห์สูตรแรกบนโลกใบนี้ที่สังเคราะห์มาจากสารที่ไม่ใช่อินทรียวัตถุ และส่งผลต่อการทำการเกษตรอย่างมาก โดยเกิดขึ้นเมื่อ 200 กว่าปีมาแล้ว ในประเทศไทยเรามีการนำเข้าปุ๋ยยูเรียสูตร 46-0-0 มากที่สุดเพราะเป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจน ที่มีธาตุไนโตรเจนสูงถึง 46% ของน้ำหนักรวม  ใช้ในช่วงเริ่มเพาะปลูกพืชเพื่อเร่งอัตราการเติบโตของลำต้นและใบ

ปุ๋ยยูเรียที่ใช้ในปัจจุบันมีอยู่ด้วยกัน 2 ขนาดคือ ขนาดเท่ากับเม็ดโฟมที่นิยมใช้เพื่อหว่านลงแปลงได้ง่ายและยังสามารถนำไปละลายน้ำเพื่อใช้เครื่องพ่นช่วยพ่นลงใบได้ด้วย และใช้เป็นแม่ปุ๋ยไนโตรเจนเพื่อนำไปผสมกับปุ๋ยตัวอื่น ให้ได้เป็นสูตรเสมอขึ้นมา และมีปุ๋ยยูเรียขนาดเล็ก สีขาวใส เหมือนเม็ดสาคู เหมาะกับการใช้สำหรับไม้ยืนต้นประเภทพืชสวนมากกว่าพืชไร่ และยังนำไปผสมเป็นอาหารสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น วัว แกะ ควาย เพื่อเสริมโปรตีนได้อีกด้วย

การใช้ปุ๋ยชนิดนี้ เราควรใช้เท่าที่จำเป็น ถ้าเป็นไปได้ก็ขอแนะนำให้ใช้กลุ่มจุลินทรีย์ต่างๆ มาแทนนะครับ เพราะปัจจุบันการทำการเกษตร เราเน้น เรื่องการทำ เกษตรอินทรีย์ มากกว่า เพราะขายได้ราคา และที่สำคัญคือสุขภาพของพวกเราเองนั่นแหละครับ ขอให้เราคำนึงถึงสุขภาพก่อนนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook