การเลี้ยงโคนมในประเทศไทยได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา โดยมีเกษตรกรจำนวนมากขึ้นเรื่อย ๆ ที่หันมาเลี้ยงโคนมเป็นธุรกิจ โคนมเป็นแหล่งผลิตนมที่สำคัญของประเทศไทย และมีความต้องการนมและผลิตภัณฑ์จากนมในประเทศเพิ่มขึ้น ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งในการเลี้ยงโคนมให้ประสบความสำเร็จ คือ การเลือกสายพันธุ์โคนมที่เหมาะสมกับสภาพอากาศและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นของประเทศไทย เกษตรกรไทยเรานิยมเลี้ยงโคนมหลายสายพันธุ์ แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะพิเศษเฉพาะในด้านการผลิตน้ำนม ขนาด และลักษณะนิสัย ในบทความนี้จะกล่าวถึงโคนมบางสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในประเทศไทย ลักษณะเด่น และวิธีการใช้ในอุตสาหกรรมนม
โคนมพันธุ์ที่นิยมเลี้ยงในประเทศไทย มีอยู่หลายพันธุ์แต่ในบทความนี้เราจะชวนคุยเพียง 5 พันธุ์เท่านั้น คือ พันธุ์โฮลสไตน์ฟรีเชี่ยน (Holstein Friesians) โคนมสายพันธุ์นี้เป็นที่ยอมรับนความสามารถในการผลิตน้ำนมได้ในปริมาณสูง ทำให้เป็นที่นิยมในหมู่เกษตรกรผู้เลี้ยงโคนมทั่วโลก ลักษณะของลำตัวจะมีขนาดใหญ่ ปกคลุมด้วยขนสีขาวดำ มีนิสัยอ่อนโยน เลี้ยงง่าย นมที่ได้จากพันธุ์โฮลสไตน์จะมีปริมาณไขมันเนยต่ำ ซึ่งเหมาะสำหรับนำมาผลิตผลิตภัณฑ์นมหลายประเภท รวมถึงนม ชีส และโยเกิร์ต
โคนมอีกพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในประเทศไทยเพื่อนำมาเลี้ยง คือวัวพันธุ์เจอร์ซีย์ (Jerseys) เป็นสายพันธุ์มีขนาดลำตัวเล็กกว่าพันธุ์โฮลสไตน์ สีขนที่ปกคลุมลำตัวมีสีน้ำตาลอ่อน ตัดกับสีดำขลับของดวงตา มีนิสัยที่เชื่อง ปรับตัวเข้ากับสภาพอากาศร้อนชื้นได้ดี ซึ่งเหมาะสมกับสภาพภูมิอากาศของประเทสไทยเรามาก น้ำนมที่ได้จากโคนมสายพันธุ์นี้จะมีปริมาณไขมันเนยสูงกว่าพันธุ์แรก จึงเหมาะสำหรับนำมาผลิตเป็นผลิตภัณฑ์ ครีม เนย และชีส
โคนมพันธุ์บราวน์สวิส Brown Swiss เป็นอีกสายพันธุ์ที่ได้รับความนิยมในการเลี้ยงในประเทศไทยที่มีลักษณะภูมิอากาศร้อนชื้น ลักษณะลำตัวใหญ่กว่าพันธุ์ Jerseys แต่ แต่เล็กกว่า Holsteins ขนมีสีน้ำตาลเข้ม มีนิสัยโอนย่อน และมีจุดเด่นเรื่องอายุที่ยืนยาว น้ำนมมีริมารโปรตีนสูง เหมาะแก่การนำมาผลิตชีสและผลิตภัณฑ์จากนมอื่น ๆ
โคนมอีกสายพันธุ์ที่เหมาะกับการเลี้ยงในประเทศไทยและได้ความนิยม คือ โคนมพันธุ์ Ayrshire ลักษณะลำตัวจะมีขนสีน้ำตาลแดงที่มีแต้มสีขาวโดดเด่น สามารถผลิตน้ำนมที่มีปริมาณไขมันเนยสูงกว่า Holsteins แต่น้อยกว่า Jerseys มีนิสัยที่เชื่องและมีความสามารถในการผลิตน้ำนมภายใต้สภาวะที่ไม่เอื้ออำนวยได้ดี และพันธุ์สุดท้ายที่เจะกล่าวถึง คือ โคนมพันธุ์ Guernseys ที่เรามักจะไม่ค่อยพบเห็นมากนัก แต่ก็เหมาะสมกับสภาพอากาศในเขตร้อนชื้นเป็นอย่างดี และมีข้อดีคือ สามารถผลิตน้ำนมได้แม้ว่าจะได้รับปริมาณอาหารน้อยก็ตาม
โดยสรุปแล้ว การเลือกสายพันธุ์โคนมที่เหมาะสมเป็นสิ่งสำคัญสำหรับการเลี้ยงโคนมในประเทศไทยให้ประสบความสำเร็จ ซึ่งแต่ละพันธุ์ล้วนเป็นสายพันธุ์ที่เหมาะสมสำหรับเลี้ยงในประเทศไทย แต่ละสายพันธุ์มีลักษณะพิเศษเฉพาะในแง่ของการผลิตน้ำนม ขนาด และนิสัยใจคอ ด้วยการเลือกสายพันธุ์ที่ถูกต้องและปฏิบัติตามแนวทางปฏิบัติในการให้อาหารและการจัดการที่เหมาะสม เพื่อนๆ เกษตรกรจะสามารถผลิตน้ำนมได้สูงและมีคุณภาพสูง ซึ่งมีส่วนสนับสนุนการเติบโตของอุตสาหกรรมนมในประเทศไทย