สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

หมามุ่ย ยาสมุนไพรสารพัดประโยชน์

หมามุ่ยไทยและหมามุ่ยอินเดียเป็นพืชในตระกูลเดียวกัน ในตำรายาแพทย์พื้นบ้านไทยได้มีการนำส่วนต่าง ๆ ของหมามุ่ยมาผสมเป็นตำรายาสมุนไพรกันนานมากแล้ว เมล็ดของหมามุ่ยสามารถนำมาคั่วรับประทานได้ เพื่อเป็นการเสริมสมรรถภาพทางเพศ ในบางตำราก็นำมาตากแห้งทำเป็นรูปแบบผง เพื่อชงดื่มแก้อาการปวดเมื่อย ช้ำใน ส่วนรากก็ต้มกินแก้ไอได้ เมล็ดที่ตำเป็นผงแช่น้ำนำมาพอกเพื่อใช้แก้พิษแมลงป่องกัดได้ชะงัดนัก ส่วนสรรพคุณอื่นหลัก ๆ แล้วจะเป็นการช่วยเพิ่มความกำหนัดและทำให้อสุจิของเพศชายมีความแข็งแรงขึ้น ช่วยในเรื่องการมีบุตรยาก

ลักษณะทั่วไปของใบหมามุ่ย จะมีรูปร่างสี่เหลี่ยมขนมเปียกปูนแต่โคนใบมีรูปทรงกลมมน ใบบาง มีขนรอบใบ ส่วนดอกหมามุ่ยนั้นมีสีม่วงแกมดำ มักออกเป็นช่อบริเวณง่ามใบ ฝักจะมีเมล็ดอยู่ข้างในไม่เกิน 7 เมล็ด และมีขนอ่อนปกคลุมอยู่ทั่วทั้งฝัก ฝักแก่จะกลายเป็นพิษเมื่อสัมผัสทำให้เกิดอาการคัน บวมแดงปวดแสบปวดร้อน ต้องรีบกำจัดขนพิษออกให้หมดด้วยวิธีลนด้วยไฟอ่อน ๆ หรือใช้ข้าวเหนียวคลึงให้ความเหนียวดูดขนพิษออกให้หมดโดยเร็ว ส่วนอาการแดงหรือคันให้ทาด้วยคาลาไมน์ พร้อมยาแก้แพ้ด้วยก็จะทุเลาขึ้น

วิธีการขยายพันธุ์หมามุ่ยนั้นไม่ยุ่งยากเลย ไม่แตกต่างจากการขยายพันธุ์ถั่วต่างๆ โดยการขุดหลุมแล้วนำเมล็ดหมามุ่นมาหยอดหลุมละ 3 เม็ด เมื่อเริ่มโผล่พ้นดินให้ทำห้างไม้ในเลื้อย รดน้ำบ่อย ๆ อย่างให้ดินแห้ง หมามุ่ยก็จะเติบโตได้เองตามธรรมชาติ มีชาวระยองตั้งกลุ่มเพื่อการปลูกหมามุ่ย ซึ่งก็ได้ผลดีสามารถขยายพันธุ์ออกไปได้เป็นจำนวนมาก และทำเป็นรายได้เสริมได้อย่างดี โดยมีพ่อค้าคนกลางมารับซื้อถึงที่ ทำให้หมามุ่ยมีราคาที่สูงขึ้น หมามุ่ยไทยมีระยะเวลาในการปลูกจนกระทั่งเก็บผลประมาณ 6 เดือน ต่างจากหมามุ่ยพันธุ์อินเดียซึ่งจะใช้เวลาไม่เกิน 3 เดือนเท่านั้น

การสังเกตลักษณะฝักแก่พอที่จะเก็บได้จะมีสีเหลืองทองมีขนปกคลุมยาวกว่าปกติ ให้ใช้ไม้หรือเหล็กทำเป็นคีมแล้วคีบจับฝักหมามุ่ย ใช้กรรไกรตัดขั้วออกจากต้น เวลาตัดฝักให้ผู้ตัดอยู่เหนือลมเพื่อป้องกันไม่ให้ขนปลิวมาถูกผิวเนื้อ หรือเข้าตา ถ้าสวมแว่นกันลมได้ก็จะดีกว่า ควรสวมเสื้อแขนยาวและถุงมือไว้ด้วยจะดีที่สุด หลังจากเก็บฝักหมามุ่ยแล้วให้นำเมล็ดมาตากแดดให้แห้งประมาณ 1-2 วัน แล้วใช้ผ้าใบคลุมไว้ให้ดีป้องกันขนฟุ้งกระจาย เมล็ดแก่จะหลุดออกมา ให้นำมาคั่วกับทรายหยาบ เป็นอันเสร็จพิธีสามารถนำไปจำหน่ายได้

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook