ปลาไหลเผือกนั้นเป็นพืชสมุนไพรที่มีชื่ออยู่ในตำราแพทย์แผนไทยมาช้านาน เป็นพืชที่พบเจอได้ง่ายในแถบชายแดนภาคใต้ และประเทศที่อยู่ติดแถบชายแดนภาคใต้ เช่น ประเทศมาเลเซีย และยังพบได้ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้อย่างประเทศไทยของเราอีกด้วย
สมุนไพรปลาไหลเผือกนั้นมีชื่อเรียกทางใต้อีกชื่อหนึ่งว่า “ตงกัตอาลี ”ซึ่งในแถบชายแดนภาคใต้นิยมนำมาผลิตเป็นกาแฟดื่มกันครับ และยังนำรากของปลาไหลเผือกนั้นมาต้มเป็นยาลดไข้อีกด้วย นอกจากนี้สมุนไพรปลาไหลเผือกยังสามารถรักษาโรคได้หลากหลายไม่ว่าจะเป็น แก้เจ็บคอ แก้ลม ขับเหงื่อ ขับพยาธิ รวมทั้งแก้ท้องผูก และสรรพคุณที่โด่งดังมากในประเทศมาเลเซียและสิงคโปร์คือช่วยเสริมสร้างสมรรถภาพทางเพศได้อีกด้วย จึงทำให้ในปัจจุบันนั้นมีผู้ผลิตนำสมุนไพรปลาไหลเผือกไปแปรรูปทำเป็นยาเสริมสมรรถภาพทางเพศจำนวนมาก ทำให้สมุนไพรปลาไหลเผือกนั้นขาดตลาดและเป็นที่ต้องการของตลาดมากขึ้น และมีราคาซื้อขายที่สูงขึ้น
ซึ่งนอกจากตลาดการค้าต้องการพืชสมุนไพรชนิดนี้แล้ว ตลาดในด้านทางการแพทย์แผนไทยก็ยังต้องการพืชชนิดนี้อยู่เหมือนกันครับ และยังคงน่าเป็นห่วงว่าในอนาคตพืชสมุนไพรปลาไหลเผือกนั้นอาจจะสูญพันธุ์ได้ เราจึงควรที่จะหันกลับมาปลูกและเรียนรู้วิธีขยายพันธุ์พืชชนิดนี้ไว้เพื่อให้สามารถได้ผลผลิตตามความต้องการต่อไปในอนาคตได้
ปลาไหลเผือกนั้นเป็นพืชพุ่มเตี้ยมีลักษณะลำต้นตั้งตรงเป็นไม้ต้นที่มีขนาดเล็กโดยมีใบคล้ายขนนก ดอกของปลาไหลเผือกนั้นจะมีสีม่วงปนแดงโดยเป็นพืชที่อาศัยเพศในการขยายพันธุ์โดยวิธีธรรมชาติ และยังมีรากสีขาวคล้ายปลาไหลเผือกอีกด้วยครับ จึงเป็นที่มาของชื่อปลาไหลเผือกครับ โดยจะออกดอกช่วงเดือนพฤษจิกายนถึงมกราคมครับ
วิธีขยายพันธุ์ปลาไหลเผือกหรือปลูกปลาไหลเผือกนั้นสามารถทำได้หลากหลายวิธี ไม่ว่าจะเป็นการเพาะเมล็ด หรือ วิธีการตอนกิ่งก็ได้ แต่เนื่องจากในปัจจุบันนั้นอาจจะหาต้นพันธุ์ของปลาไหลเผือกได้ยาก วิธีที่ทำได้ง่ายก็คงจะเป็นวิธีการเพาะเมล็ดครับ โดยเมล็ดนั้นจะเป็นรูปรี เมื่อเราเตรียมดินโดยการใส่ปุ๋ยหมักผสมปุ๋ยคอกเรียบร้อยแล้ว ก็ทำกันพรวนดินให้เข้ากันก่อนที่จะทิ้งไว้ประมาณ 1 สัปดาห์ จากนั้นก็ขุดหลุมพอประมาณก่อนจะนำเมล็ดปลาไหลเผือกใส่ลงไปและทำการกลบดิน โดยปลาไหลเผือกนั้นสามารถเติบโตได้ดีในดินแทบจะทุกประเภท แต่ทั้งนี้จะต้องคอยรดน้ำอย่างสม่ำเสมอเพราะเป็นพืชที่ชอบน้ำและความชื้นสูง และหากจะใช้รากของปลาไหลเผือกนั้นนำมารับประทานเป็นยารักษาโรค ก็อาจต้องใช้เวลานานกว่า 5 ปีถึงจะเก็บเกี่ยวได้ครับ โดยประมาณแล้วถึง แต่ก็ยังถือว่าเป็นพืชพรรณที่มีสรรพคุณเยอะและมีความต้องการในตลาดมากอยู่ครับ