สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

แกะ สัตว์เคี้ยวเอื้อง ขนปุย

แกะ สัตว์สี่ขาที่เราอาจจินตนาการถึงขนปุกปุยที่อ่อนนุ่ม ปุยขนมีรูปทรงคล้ายกับปุยเมฆขาว สัตว์ชนิดนี้ที่มักจะดำรงชีพตามไหล่เขาสีเขียวขจี เชื่อกันว่าแต่เดิมนั้น แกะที่พบเห็นทั่วไปในทวีปยุโรปและเอเชียจะเป็นแกะที่สายพันธุ์ต้นกำเนิดจากแกะป่า ก่อนที่เราจำนำมาเลี้ยงเพื่อใช้งานในการทำเกษตรเพื่อใช้ประโยชน์จาก เนื้อ นม หนังและขน จนแกะมีนิสัยที่เชื่องขึ้น โดยเริ่มมีการนำมาเลี้ยงเพื่อเกษตรกรรมแถบอิหร่าน ทั้งนี้ส่วนที่สามารถรายได้ได้อย่างโดดเด่นคือส่วนของขนแกะที่นิยมนำมาใช้เป็นเครื่องนุ่งห่ม โดยเกษตรกรผู้เลี้ยงจะทำการโกนขนปุกปุยเหล่านั้นมาใช้ประโยชน์ในเชิงการค้า ปัจจุบัน การเลี้ยงแกะกลายเป็นวัฒนธรรมที่มีความผูกพันกับวิถีชีวิตของผู้คนในแถบประเทศ ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ หมู่เกาะอังกฤษ  ภูมิภาคทางตอนกลางของอเมริกา และในภาคใต้ของประเทศแคนาดา

แกะจัดเป็นหนึ่งในปศุสัตว์ที่มีตำนานควบคู่ไปกับการทำการเกษตรตั้งแต่ยุคโบราณ ถูกนำมาใช้เป็นสัตว์ในเชิงสัญลักษณ์ ถูกนำไปเป็นตัวละครสำคัญในการร้อยเรียงเป็นวรรณศิลป์และดนตรีแนวชนบท รวมถึงสัตว์ในเทพนิยายต่างๆ และยังถูกนำมาใช้เป็นสัตว์บูชายัญอีกด้วย

แกะ เป็นหนึ่งในสัตว์เคี้ยวเอื้อง มีสี่ขา กีบคู่ อยู่ในกลุ่มของสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมขนาดค่อนข้างเล็ก แกะบ้านจัดเป็นแกะที่มีประชากรมากที่สุด ลักษณะขนของแกะ จะหยิกเป็นลอน สีขาวไปจนถึงสีน้ำตาลเข้มและอาจปรากฎเป็นลายจุดปะปนได้ โดยบางสายพันธุ์อาจจะมีเขา และบางสายพันธุ์อาจไม่มีเขาก็ได้ และอาจมีเขา 1 คู่หรือหลายคู่ก็ได้ ขณะที่ความยาวของหางก็จะแตกต่างกันไปตามสายพันธุ์ โดยแกะนั้นมีสายพันธุ์หลายร้อยสายพันธุ์ทั่วโลก ทำให้ขนาดลำตัว ลักษณะขน รูปพรรณสัณฐานแตกต่างกัน

แกะ จะออกลูกเป็นตัวและน้ำนมในการเลี้ยงลูก กินพืชเป็นอาหารหลักและแกะป่าในบางแห่งอาจจะกินแมลงขนาดเล็กเป็นอาหารอีกด้วย มักอยู่รวมกันเป็นฝูง บริเวณพื้นที่โล่งตามไหล่เขาที่มีอากาศเย็นสบาย ส่วนในประเทศไทยเรานั้น  ช่วงเริ่มแรกได้มีการทดลองนำมาเลี้ยงในจังหวัดที่มีอากาศหนาวเย็น เช่น จังหวัดเชียงราย และราชบุรี โดยเน้นการเลี้ยงเพื่อกระตุ้นการท่องเที่ยวและเรียนรู้ รวมถึงเพื่อตัดขนไปผลิตเป็นเส้นใย

โดยทั่วไปแล้ว ตลาดการค้าขนแกะขนาดใหญ่จะนิยมใช้ขนแกะสีขาวเพื่อง่ายแก่การนำมาย้อมสี แต่ก็ยังมีตลาดบางกลุ่มที่นิยมใช้ขนแกะสีอื่นๆ เป็นวัตถุดิบ เช่น ตลาดการผลิตที่มีการปั่นด้ายด้วยมือ ทำให้มีการจัดกลุ่มชนิดและคุณภาพของขนแกะ เพื่อรองรับการแปรรูปเส้นใยเชิงพาณิชย์ที่แตกต่างกันไป

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook