ดินวิทยาศาสตร์ ภาษาอังกฤษเรียกว่า polymer hydrogel หรือ hydrophilic polymer นั้นเป็นสารที่สร้างขึ้นมาเพื่อประโยชน์หลายด้าน สามารถดูดซับน้ำเข้าไป และพองตัวได้หลายร้อยเท่าของน้ำหนักแห้ง ป้องกันน้ำไหลเข้าระหว่างเม็ดสารและยังป้องกันการไหลออกระหว่างกันด้วย ซึ่งเป็นสารที่จะช่วยเก็บรักษาน้ำไว้ให้พืชได้ดียิ่งขึ้น จึงถูกนำมาใช้แทนดินธรรมชาติ เพราะอุ้มน้ำได้ดีกว่า ไม่ต้องคอยพะวักพะวงกับการรดน้ำบ่อยๆ โดยปัจจุบันนิยมใช้ในการปลูกไม้ประดับในร่ม ไม้กระถาง อย่างเช่นกลุ่มพลูด่าง หรือกลุ่มต้นใบเงิน ที่เป็นเป็นไม้อวบน้ำ จะต้องให้น้ำปริมาณมาก จึงต้องหาวัสดุอุ้มน้ำต่างๆ มาช่วยเก็บความชื้น
ดินวิทยาศาสตร์ยังมีคุณสมบัติพิเศษคือมีความโปร่ง มีโพรงช่องวางระหว่างโมเลกุลสูงทำให้ดูดซึมน้ำแล้วมีสภาพเป็นวุ้น รากของพืชสามารถแทงทะลุผ่านเข้าไปในดินวิทยาศาสตร์ที่อุ้มน้ำได้อย่างง่ายดาย เมื่อถูกรากดูดซึมน้ำไปเรื่อยๆ ตัวของดินวิทยาศาสตร์นี้จะเริ่มแข็งและยุบขนาดลงเรื่อยๆ แต่เมื่อมีการเติมน้ำลงไปใหม่ก็จะมีการอุ้มน้ำไว้อย่างรวดเร็ว โดยดินวิทยาศาสตร์นี้จะมีประสิทธิภาพสูง หากน้ำที่ใช้รดลงไปมีสภาพเป็นกลาง
มีการทดสอบใช้ดินวิทยาศาสตร์คลุกกับเมล็ดพันธุ์พืช พบว่าเมล็ดสามารถดูดน้ำเพื่อใช้ในการงอกได้สูง และยังสามารถใช้ในการห่อหุ้มรากไว้ระหว่างการขนส่งเพื่อป้องกันการขาดน้ำ และยังสามารถใช้เพื่อประหยัดการใช้น้ำในเขตพื้นที่เพาะปลูกด้วยการนำดินวิทยาศาสตร์ไปผสมกับดินในพื้นที่ ช่วยทั้งเรื่องการระบายของดินได้ด้วยครับ
หากเพื่อนๆ เกษตรกรอยากจะทำวิทยาศาสตร์ไว้ใช้เองก็เพียงแค่ไปหาซื้อสารโพลิเมอร์ที่ร้านขายอุปกรณ์การเกษตร แล้วนำมาแช่น้ำไว้ หากต้องการเติมปุ๋ยก็เติมในขั้นตอนนี้ได้เลยครับ แล้วนำดิน 6 ส่วนคลุกคละเคล้ากับโพลิเมอร์ 1 ส่วนให้เข้ากัน แล้วนำไปใช้เป็นดินใส่กระถางต้นไม้หรือถาดเพาะชำ เพื่อประหยัดเวลาในการรดน้ำต้นพันธุ์เราได้ครับ และที่สำคัญคือต้นกล้าเติบโตเร็วมาก และโดยเฉพาะเวลาที่เราต้องขนย้ายต้นไม้แล้วมีโอกาสไม่ได้รับน้ำในเวลานานๆ ควรจะใช้ดินวิทยาศาสตร์พอกรากและโคนต้นไม้ไว้ เพื่อรักษาความชุ่มชื้นให้ต้นไม้ตลอดระยะทาง เมื่อไปถึงที่หมายก็นำลงดินได้เลยโดยไม่ต้องนำดินที่พอกโคนออก เพราะยังมีประโยชน์ต่อไปในการอุ้มน้ำให้แก่ต้นไม้นั่นเอง และดินวิทยาศาสตร์นี้สามารถย่อยสลายได้ตามธรรมชาติ ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม ทำให้เราไม่ต้องกังวลเรื่องของสารพิษ และยังมีฤทธิ์เป็นกลางไม่สร้างผลกระทบต่อดินเดิมที่ปลูกอีกด้วย
เรื่องของดินวิทยาศาสตร์ก็คือเรื่องของวัสดุใหม่ๆ ที่ทำให้เราประกอบอาชีพเกษตรกรได้ง่ายขึ้นนั่นเองครับ ยุคเกษตร 4.0 เราต้องรู้จักเทคโนโลยีใหม่ๆ และนำมาใช้ให้สมกับการเป็น Smart Farmer ครั