สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

นวัตกรรมสียเขียว: ไฟโตเทคโนโลยีแก้ปัญหาวัชพืชในน้ำ

การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อทรัพยากรน้ำ โดยคาดการณ์ว่าภายในปี พ.ศ. 2573 อุณหภูมิโลกอาจจะเพิ่มสูงขึ้นอีก 1.5 องศาเซลเซียส ซึ่งจะนำมาสู่ภัยพิบัติทางธรรมชาติที่รุนแรงยิ่งขึ้น โดยในประเทศไทยเริ่มแสดงผลกระทบที่ชัดเจนจากอุณหภูมิที่สูงถึง 40 – 43 องศาเซลเซียส ส่งผลกระทบอย่างมากต่อภาคการเกษตร เกษตรกรต้องเผชิญกับความไม่แน่นอนของปริมาณน้ำฝนและอุณหภูมิที่สูงผิดปกติ โดยเฉพาะในพื้นที่นอกเขตชลประทานและพื้นที่ขาดแคลนน้ำ ข้อมูลจากกรมอุตุนิยมวิทยา ชี้ให้เห็นว่าปริมาณฝนสะสมเฉลี่ยในปี 2566 ลดลงเมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยในรอบ 30 ปี โดยเฉพาะในภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ภาคกลาง และภาคตะวันออก ซึ่งมีปริมาณฝนลดลงถึงร้อยละ 38 ถึง 64 การบริหารจัดการน้ำและการวางแผนการเกษตรจึงต้องปรับตัวอย่างเร่งด่วนกรมชลประทานได้ดำเนินการแก้ไขปัญหาโดยเพิ่มการส่งน้ำเข้าสู่ระบบชลประทาน พร้อมทั้งเพิ่มมาตรการใช้น้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน รวมถึงการรักษาแหล่งน้ำธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพทั้งในด้านคุณภาพน้ำ ปริมาณความจุ และการกักเก็บน้ำ

นวัตกรรมสียเขียว: ไฟโตเทคโนโลยีแก้ปัญหาวัชพืชในน้ำ

พื้นที่ชุ่มน้ำหนองกุดทิง จังหวัดบึงกาฬ กำลังเผชิญปัญหาการเติบโตของวัชพืชน้ำ โดยเฉพาะจอกหูหนูยักษ์ โดยมีสาเหตุหลักมาจากการใช้ปุ๋ยเคมีและยาฆ่าแมลงของเกษตรกรที่ต้องการเพิ่มผลผลิตในช่วงฤดูแล้ง
ที่ยาวนานขึ้น ส่งผลให้น้ำทิ้งจากการเกษตรกลายเป็นแหล่งอาหารของวัชพืช ทำให้แหล่งน้ำเสื่อมโทรม ดังนั้นปัญหานี้จำเป็นต้องได้รับการแก้ไขจากทุกภาคส่วน เพื่อให้สามารถนำน้ำกลับมาใช้ในการเกษตรได้อย่างปลอดภัยและปราศจากสารพิษ รวมถึงฟื้นฟูระบบนิเวศ

การใช้เทคโนโลยีไฟโต (Phytotechnology) เป็นการใช้พืชร่วมกับการออกแบบทางวิศวกรรมและวิทยาศาสตร์เพื่อจัดการกับมลพิษในสิ่งแวดล้อม โดยใช้พืชและจุลินทรีย์ที่รากพืชในการย่อยสลาย กำจัด และดูดซับสารปนเปื้อนหรือมลพิษจากดินและน้ำ วิธีการนี้นอกจากจะช่วยแก้ไขปัญหาน้ำเสียและฟื้นฟูระบบนิเวศให้มีความยั่งยืน ส่งเสริมการเป็นสังคมคาร์บอนต่ำ ซึ่งนักวิจัยได้ประยุกต์ใช้ในโครงการนำร่องที่สถานีวิจัย
ลำตะคอง จังหวัดนครราชสีมา โดย สวก. ได้สนับสนุนทุนวิจัยในโครงการ “การบำบัดและฟื้นฟูแหล่งน้ำในพื้นที่ชุมชนเหนือน้ำหนองกุดทิง อ.โนนสมบูรณ์ จ.บึงกาฬ ด้วยระบบธรรมชาติบำบัดไฟโตเทคโนโลยี
เพื่อใช้ในภาคการเกษตร”
โดยมุ่งลดปัญหาวัชพืชในแหล่งน้ำห้วยน้ำคำ เพื่อให้มีน้ำเพียงพอสำหรับการเกษตรและส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมชนในการดูแลรักษาแหล่งน้ำให้สะอาดและยั่งยืน และยังได้สร้างต้นแบบพื้นที่รองรับน้ำทิ้งของชุมชนเพื่อบำบัดด้วยระบบไฟโตเทคโนโลยี และปล่อยให้น้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วไหลสู่เส้นทางน้ำหลักของหนองกุดทิง ซึ่งเป็นแนวทางที่ช่วยแก้ปัญหาได้อย่างครบวงจร เพื่อให้ชุมชนสามารถใช้น้ำสะอาดสำหรับการเกษตรได้อย่างยั่งยืน

ความสำเร็จของโครงการนี้ได้สร้างความยั่งยืนผ่านการมีส่วนร่วมของชุมชน การจัดทำคู่มือการบริหารจัดการน้ำด้วยระบบไฟโตเทคโนโลยี และการทำงานร่วมกับองค์การบริหารส่วนตำบล (อบต.) ซึ่งเป็นกลไกสำคัญในการถ่ายทอดความรู้และสร้างความตระหนักให้กับชุมชน นอกจากนี้ การขยายผลการใช้ประโยชน์ของระบบบำบัดไปยังพื้นที่ใกล้เคียงยังเป็นการสร้างเครือข่ายการจัดการน้ำที่ยั่งยืนในระดับภูมิภาค ซึ่งเป็นการวางรากฐานสำหรับการจัดการทรัพยากรน้ำอย่างยั่งยืนในระยะยาว ซึ่งจะช่วยลดผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและนำไปสู่การใช้ทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและยั่งยืน

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook