สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

เชอร์รี่ ผลไม้เมืองหนาว

เชอร์รี่ หากพูดคำนี้เพียงแค่นี้ อาจจะทำให้ใครต่อใครคิดถึงผลไม้ชนิดหนึ่งที่มีรูปทรงกลมมนมีขั้วยาว รสชาติเปรี้ยวอมหวาน มีผลสีแดงฉ่ำ มักจะถูกนำมาใช้เป็นผลไม้เพื่อการตกแต่งหน้าเค้กหรือไอศครีม ทั้งแบบสดหรือแบบเชื่อม แต่หานำไปต่อท้ายหอยก็จะกลายเป็นหอยเชอร์รี่ หรือถ้าไปตามหลังคำว่ามะเขือเทศ ก็จะกลายเป็นมะเขือเทศเชอร์รี่หรือมะเขือเทศราชินีนั่นเองครับ แต่วันนี้เราจะมาชวนเพื่อนๆ เกษตรกรคุยกันเรื่อง “เชอร์รี่” ที่เป็นผลไม้ครับ

เชอร์รี่ เป็นพืชผลไม้ตระกูลเดียวกันกับลูกพรุน สีของเปลือกผลเป็นสีแดงเข้ม บางพันธุ์อาจจะมีสีแดงหรือเหลืองเข้มหรือส้มได้ เป็นผลไม้ต่างประเทศ ที่เป็นที่รู้จักในกลุ่มประเทศยุโรป อเมริกา เกาหลีและญี่ปุ่น เพราะสามารถปลูกได้โดยง่ายในประเทศที่มีภูมิอากาศเย็นจัด ผลเชอรี่มีวิตามินซีสูงกว่าส้มทั่วไปในปริมาณเท่ากันสูงสุดถึง 80 เท่า จึงไม่น่าแปลกใจที่ทำให้ผู้รับประทานมีผิวขาวใส หน้าอ่อนกว่าวัย เพราะเต็มไปด้วยฤทธิ์ที่ต้านความหย่อนคล้อย และยังเป็นผลไม้ที่ช่วยกระตุ้นอารมณ์ดี เพราะมีสารแอนโธไซยานินที่มีจุดเด่นในเรื่องนี้อย่างเต็มเปี่ยม จนถูกขนานนามว่าเป็นแอสไพรินที่จักรวาลสร้างมา

ในบ้านเรามีการนำเชอร์รี่เข้ามาปลูกอยู่ 2 พันธุ์คือพันธุ์ไทยและพันธุ์นอก โดยพันธุ์นอกอาจจะทนทานได้ไม่ดีเท่าพันธุ์ไทยนัก ดังนั้นอาจต้องใส่ใจมากเป็นพิเศษ และด้วยความที่เป็นพืชผลที่ไม่ได้มีถิ่นกำเนิดไทย จึงยังไม่มีการปรับปรุงพันธุ์ให้เหมาะสมกับการทำเป็นแปลงใหญ่ จึงมีการทดลองปลูกโดยการปลูกในกระถางเสียเป็นส่วนใหญ่ เพราะสามารถควบคุมคุณภาพดินและน้ำได้ ทำให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพตามที่ตลาดต้องการ

เชอรี่นอก เป็นผลไม้ที่ชอบอากาศหนาว จึงจำเป็นต้องปลูกบนภูเขาหรือพื้นที่เหนือระกับน้ำทะเลมากกว่า 1,000-1,200 เมตร ที่มีอากาศเย็น แต่หากเป็นเชอรี่ไทยนั้นสามารถปลูกได้ทั่วไปในทุกภาค วิธีการปลูกจะใช้วิธีการเพาะเมล็ด ด้วยการนำเมล็ดมาล้างทำความสะอาดแล้วนำมาพอกด้วยเชื้อราไตรโครเดอร์มาเพื่อใช้ปกป้องเมล็ดพันธุ์จากเชื้อราต่างๆ แล้วพ่นละอองน้ำลงบนกระดาษทิชชู่ให้ชุ่มแล้วห่อเมล็ดไว้ แล้วนำไปวางในกล่องที่ปิดมิดชิดเพื่อทำการเพาะเชื้อทิ้งไว้ราวๆ 14 วัน จึงย้ายลงไปเพาะในถาดเพาะต่อไป จนกว่าจะแตกรากจึงย้ายลงไปยังกระถางใหญ่หรือแลงปลูกอีกครั้งหนึ่ง

ในการเตรียมดินในกระถางปลูกต้องเน้นเรื่องความสามารถในการระบายน้ำโดยการผสมขุยมะพร้าวลงไปในดินและเติมปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกเพื่อให้ต้นเชอร์รี่ได้รับธาตุอาหารบำรุงเต็มที่ และหมั่นเติมน้ำหมักชีวภาพอย่างเหมาะสม แค่นี้เรก็จะสามารถมีผลเชอรรี่ในสวนไว้รับประทานเองแล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook