สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

กานพลู สมุนไพรแห่งตำนาน

กานพลู  ลำต้นสูงประมาณ 5 ถึง 10 เมตร ใบเดี่ยวรูปวงรีออกเรียงแบบตรงข้าม ออกดอกเป็นช่อสีขาว กลีบดอกมีส่วนกลีบเลี้ยงและฐานดอกจะมีสีแดง หนา แข็ง ส่วนผลจะมีลักษณะรูปทรงไข่ กานพลูมีสรรพคุณทางยาหลากหลาย มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว มีรสเผ็ดร้อน เคยถูกบันทึกไว้ว่าเป็นหนึ่งในสมุนไพรสำหรับทำมัมมี่ในตำนานอียิปต์ยุคเก่าก่อน คนต่างชาติแถบตะวันตกมักนำไปเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางและใช้เพื่อเป็นเครื่องปรุงและแต่งกลิ่นอาหาร เพราะกานพลูมีกลิ่นที่เป็นเอกลักษณ์ จึงถูกนำดอกแรกผลิมาสกัดเป็นน้ำมันหอมระเหย กานพลูยังเป็นพืชสมุนไพรทางยาของของชาวฟิลิปปินส์ โดยนำดอกตูมที่แก่จัดมาตากแห้งเก็บไว้ใช้รักษาโรค

กานพลูในตำรายาไทยมีสรรพคุณเกี่ยวกับโรคเกี่ยวกับปาก ไม่ว่าปวดฟันหรือว่าเหงือกบวม กานพลูก็ช่วยได้นะครับกานพลูยังช่วยระงับกลิ่นปาก ดับกลิ่นสุราได้เป็นอย่างดีเลยครับ ช่วยบรรเทาอาการคลื่นไส้อาเจียนหน้ามืดตาลาย ช่วยแก้อาการสะอึก ใช้รับประทานเพื่อขับลมแก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ ช่วยบรรเทาอาการปวดท้อง ลดการบีบตัวของลำไส้ ลดกรดในกระเพาะอาหาร ช่วยแก้อาการท้องเสียในเด็ก แก้อาการเหน็บชา  รักษาโรคหอบหืด แก้อาการไอ ผลิตภัณฑ์ยาสีฟันและยาบ้วนปากหลายๆ ยี่ห้อก็จะมีส่วนผสมของกานพลูรวมอยู่ และยังสามารถนำไปผสมยาเคลือบฟันหรือใช้เป็นยาดับกลิ่นไล่ยุง ตลอดจนใช้แต่งกลิ่นอาหาร เครื่องดื่ม ขนม สบู่และยาสีฟัน

กานพลูเป็นพืชสมุนไพรที่ไม่ชอบแสง ควรจะปลูกรวมกับพวกหมาก ให้เงาของต้นหมากมาบังไม่ให้กานพลูโดนแดดมาก แต่พอกานพลูโตขึ้นเราก็จะต้องนำไปแยกปลูกในหลุม 8 * 8 แต่ก่อนที่จะปลูก เวลาเราจะเพาะพันธุ์กัน เราก็ต้องเก็บผลดำๆกลมๆที่มาจากดอกกานพลูที่ผลสุกแล้วเอาไปแช่น้ำก่อนประมาณ 2-3 ชั่วโมงก่อน

กว่าจะได้กานพลูอาจต้องใช้เวลาประมาณ 5-6 ปีเลยกว่าจะโตเป็นพุ่มสวยๆให้เราได้เก็บผลได้ โดยเราต้องให้ปุ๋ยคอกในช่วง 4 เดือนแรกก่อน พออายุ 2 ปีแล้วถึงจะให้ปุ๋ย หลังจากนั้นเราก็ต้องรอให้เกิดพุ่มและออกผลให้เรากินได้ ระหว่างที่เราปลูกจนถึงได้ผลเราจะรดน้ำอาทิตย์ละ 2 ครั้ง ตัดแต่งกิ่งบ้าง เพราะบนต้นกานพลูนั้นควรจะมีกิ่งหลักกิ่งเดียว เพื่อให้ได้รับธาตุอาหารเต็มที่และเจริญเติบโตได้ดี

การเก็บเกี่ยวผลผลิตของกานพลูนั้น เราสามารถนำดอกไปตากแห้ง เพื่อนำไปขายให้ผู้บริโภคใช้ประกอบอาหารและทำเป็นยาสมุนไพร เช่น ยาแก้ไอ ขับเสมหะ และ ยาแก้ปวดฟันนั่นเองครับ ส่วนบางท่านยังพลิกแพลงนำไปผลิตเป็นชาลดควาอ้วนอีกด้วย ทั้งนี้ก็ขึ้นอยู่กับแผนที่เราวางไว้นะครับ แปรรูปได้ ราคาขายก็สูงตามไปด้วยนะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook