สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

แมงแคง เป็นทั้งอาหาร เป็นทั้งศัตรูพืช

แมงแคง เป็นแมลงที่ได้รับความนิยมรับประทานในภาคอีสาน นิยมทานทั้งดิบและนำไปปรุงเป็นอาหารสุก การทานดิบนั้น จะต้องนำปีกออกแล้วบีบท้องแมงแคงเพื่อไล่ฉี่ที่มีกลิ่นแรงและกัดลิ้นออกจากท้อง แล้วจึงนพเข้าปากเคี้ยวกันสดๆ หรือจะทานกับข้าวเหนียว แจ่วบอง จิ้มปลาแดก หรือจะนำไปย่างหรือคั่วไฟทานเป็นกับแกล้ม บางบ้านก็นำตัวแมงแคงไปตำเป็นน้ำพริกแมงแคง หรือนำไปห่อไปตองหมกไฟก็แซ่บไปอีกแบบครับ

 

แมงแคง เป็นทั้งอาหาร เป็นทั้งศัตรูพืช

แมงแคงมีขนาดลำตัวประมาณ 2.5-3 เซนติเมตร สีน้ำตาลผสมสีเหลือง พบได้ตามต้นตะคร้อในช่วงใบไม้ผลิ เพราะแมงแคงจะใช้น้ำเลี้ยงใบอ่อนเป็นอาหาร แมงแคงมีวงจรชีวิตรวม 1 ปี นับจากการวางไข่ในช่วงเมษายน ใช้เวลา 2 สัปดาห์ ระยะรุ่น 15 สัปดาห์ ระยะเต็มวัย 12 สัปดาห์ขึ้นไป

ฉี่ของแมงแคงมีความเป็นพิษ มีฤทธิ์เป็นกรด เมื่อสัมผัสโดนผิวหนังเราจะรู้สึกปวดแสบปวดร้อน ซึ่งหากโดนดวงตาแล้วต้องรีบล้างออกในทันที

วิธีการจับแมงแคง เราจะจับโดยใช้สวิงไปช้อนเก็บตามต้นตะคร้อ หรือวิ่งไล่จับในช่วงฝนหยุดตก เพราะแมงแคงจะยังบินไม่ได้ ซึ่งเป็นกิจกรรมที่เด็กๆ ในต่างจังหวัดนิยมมาก เพราะได้ใกล้ชิดธรรมชาติและยังได้อาหารอันแสนโอชามาทานกันอีกด้วย

นอกจากแมงแคงตะคร้อแล้ว ก็ยังมีแมงแคงจิก ที่มักพบโดยทั่วไปในแถบอีสานและประเทศเพื่อนบ้าน เป็นแมลงที่ชอบอยู่ในป่าละเมาะ สีเขียวและสีแดง จึงกลายเป็นแมงแคงจิกเขียวและแมงแคงจิกแดงตามสีของลำตัว มักพบบนต้นจิก แต่ในประเทศไทยพบได้น้อยมาก เพราะป่าไม้ถูกเผาทำลาย จึงมีการนำเข้ามาเพื่อบริโภคจากประเทศลาว

ในภาคเหนือซึ่งเป็นถิ่นในการปลูกลำไยนั้น ได้จัดให้แมงแคง เป็นศัตรูพืชขอลำไยและลิ้นจี่ ที่สร้างความเสียหายให้แก่ผลผลิต โดยคนเหนือจะเรียกแมงแคงว่า มวนลำไย พบการระบาดมากในช่วงลำไยและลิ้นจี่แตกดอกออกผล เพราะแมงแคงจะเข้าไปดูดน้ำหวานจากช่อดอก จนเกิดอาการยอดหงิกงอ ใบอ่อนเหี่ยว ชะงักการเติบโต ทำให้ไม่เกิดผลผลิต หรือทำให้ผลผลิตคุณภาพด้อยลง

ดังนั้น เพื่อนๆ เกษตรกรชวนสวนในภาคเหนือ จึงมีวิธการปราบแมงแคงหรือมวนลำไย  ด้วยการจับตัวเต็มวัยไปขายแล้วจึงค่อยทำลายตัวอ่อนและไข่ให้สิ้นซาก และทำการตัดแต่งกิ่งใบให้โปร่ง ป้องกันให้แมงแคงมาอาศัย และการนำแตนเบียนไข่มาปล่อยเลี้ยงในสวน เพื่อกินไข่อ่อนแมงแคง ตามระบบนิเวศวิทยา และท้ายที่สุดคือการฉีดพ่นสารฆ่าแมลงในช่วงแตกดอก เพื่อป้องกันความเสียหายที่จะเกิดขึ้นกับผลผลิตนั่นเองครับ

แมงแคง ราคาแสนแพง แต่เมื่อไปอาศัยผิดที่ สร้างความเสียหายแก่ผลผลิตอื่นๆ ก็จะเป็นเช่นนี้ล่ะครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook