สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ไผ่ซางหม่น พืชเศรฐกิจทำเงิน

หากพูดถึงไผ่แล้วเราคงรู้จักกันดีว่าต้นไผ่นั้นมีประโยชน์ในการใช้สอยประโยชน์อย่างมากมาย ไม่ว่าจะเป็นการใช้เพื่อทำเครื่องมืออุปกรณ์ในการทำการเกษตรหรืออุปกรณ์ในการประกอบอาหาร รวมทั้งภาชนะต่างๆ ในชีวิตประจำวัน  ในอดีตนั้นอาจนำไผ่มาทำเป็นอาคารบ้านเรือนเลยก็ว่าได้  ไผ่มีหลายชนิด แต่ไผ่ที่คนส่วนใหญ่นิยมนำมาใช้มากและปลูกเพื่อส่งออกตลาดอุตสาหกรรมมากที่สุดนั้นก็คือ “ไผ่ซางหม่น”   โดยไผ่ประเภทนี้จะนิยมนำไปแปรรูปเป็นเฟอร์นิเจอร์ ทั้งขายในประเทศและส่งออกนอกประเทศ ด้วยรูปร่างลำต้นของไผ่ชนิดนี้มีลักษณะที่สวยงามกว่าไผ่ชนิดอื่น รวมทั้งหน่อไผ่ยังสามารถใช้ปรุงอาหารได้อีกด้วยครับ

ไผ่ซางหม่น มีลักษณะลำต้นตรงยาวเหมือนไผ่ชนิดอื่น โดยสีของไผ่นั้นจะมีสีเขียวหม่น โดยสีที่ปล้องของลำอ่อนนั้นจะมีสีขาวออกแป้งๆ ส่วนลำแก่นั้นจะมีสีเขียวเข้ม ลักษณะเนื้อหนาเนียน ให้ความคงทนได้ดีเยี่ยม ลำต้นมีความสูงประมาณ 15-20 เมตร และมีเส้นผ่าศูนย์กลางของลำต้นประมาณ 10 เซนติเมตร  ปล้องแต่ล่ะปล้องจะยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตรครับ และส่วนใหญ่เราจะมักจะพบไผ่ชนิดนี้ในบริเวณภาคเหนือของประเทศไทยครับ ยังไม่พบแพร่หลายในภาคอื่นๆ แต่ความต้องการใช้ไผ่ซางหม่นกลับมีแพร่หลายไปทั่วประเทศ หากใครสนใจจะลงทุนปลูก ต้องบอกเลยว่าโอกาสที่จะได้กำไรนั้นมีความเป็นไปได้สูงครับ

วิธีการปลูกไผ่ซางหม่นนั้นสามารถเพาะปลูกขยายพันธุ์ได้หลายวิธี แต่วิธีที่จะแนะนำในวันนี้ เป็นวิธีที่ง่ายต่อเพื่อนๆ เกษตรกรมือใหม่หรือที่เพิ่งเริ่มปลูกต้นไผ่ซางหม่นกันครับ โดยเราจะปลูกด้วยวิธีการ ชำลำ โดยเริ่มจากการตัดต้นไผ่เป็นท่อนๆ และแต่ล่ะท่อนนั้นจะต้องมีข้ออยู่ตรงกลางด้วยเพื่อที่จะสามารถนำไปปักชำในดินได้ โดยให้ปล้องที่เหนือข้อนั้นมีความยาวประมาณคืบหนึ่งหรือ 30 เซนติเมตรเพื่อสามารถรองรับน้ำหนักได้ และให้ส่วนปล้องที่อยู่ใต้ข้อนั้นมีความยาวแค่เพียง 5-7 เซนติเมตรเท่านั้น

ขั้นตอนต่อไปคือนำต้นที่ตัดนั้นไปชำในเรือนเพาะชำ โดยตัดกิ่งที่อยู่บริเวณรอบๆ ข้อออกให้หมดก่อนที่จะปักลงดิน วิธีการปักให้ปักลงไปในดิน โดยใส่น้ำไว้ในปล้อง ให้ส่วนตาที่อยู่บนดินปักลงดินโดยเอียงประมาณ 45 องศ าเพื่อไม่ให้น้ำในปล้องนั้นไหลออกมาได้ครับ ส่วนใหญ่จะใช้วิธีปักชำลงในกระถางหรือถุงเพาะ วิธีการดูแลไผ่ซางหม่นก็ไม่ยากครับ เราเพียงแต่หมั่นใส่น้ำไว้ในปล้องไผ่ทุกวัน เพียงเท่านี้ก็รอเวลาเก็บเกี่ยวผลผลิตที่ได้เลยครับ หากเราแปรรูปเป็นยิ่งทำเงินได้สูงเลยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook