สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ใบหูกวาง มีประโยชน์มากกว่าที่คิด

ใบหูกวางเป็นผลผลิตจากต้นหูกวางที่สามารถพบได้โดยง่ายในแทบทุกพื้นที่ของประเทศไทย เมื่อคิดถึงต้นหูกวาง เรามักจะคิดถึงใบที่ร่วงหล่นง่าย จนหากไม่รู้สรรพคุณของใบหูกวางก็คงมีหลายคนที่มีความคิดไม่อยากจะปลูกต้นหูกวางนี้ไว้เพราะต้องเสียเวลาเก็บกวาดใบที่ร่วงหล่นลงมาอยู่บ่อยครั้ง แต่ถึงอย่างไรแล้วต้นหูกวางนั้นก็ยังคงถูกใช้เป็นพืชประดับอยู่บ้างครับ

ในปัจุบันนั้นมีการนำใบหูกวางมาใช้ประโยนช์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นการนำมาใช้เป็นยาสมุนไพรรักษาโรคต่อมซิลอักเสบ ใช้เป็นยาระบาย ช่วยเรื่องระบบขับถ่าย ขับเหงื่อเพื่อที่จะลดไข้ได้ ใช้เป็นยาถ่ายพยาธิได้ และยังนำมาบดเพื่อพอกรักษาบาดแผลได้อีกด้วยครับ นอกจากนี้ใบหูกวางนั้นยังเป็นสมุนไพรที่นิยมในหมู่คนเลี้ยงปลาสวยงามอีกด้วยครับ  เพราะในใบหูกวางนั้นมีสารแทนนินซึ่งเป็นสารที่ช่วยรักษาบาดแผลของปลา รวมทั้งยังออกฤทธิ์ปรับค่า PH ของน้ำในบ่อปลาได้ ทั้งยังช่วยยั้บยั้งเชื้อโรคและแบคทีเรียที่ไม่พึงประสงค์ แถมยังช่วยให้สีปลานั้นสวยงามได้อีกด้วยครับ ด้วยประโยชน์ที่หลากหลายของใบหูกวาง ทำให้ใบหูกวางนั้นมีราคาสูงพอสมควรครับ ขายกันในตลาดที่กิโลกรัมละ 500 บาท เลยทีเดียวครับ

ต้นหูกวางนั้นเป็นไม้ยืนต้นมีลัษณะลำต้นตรงใบขึ้นชิดติดกัน โดยใบของต้นหูกวางนั้นจะประกอบด้วยหลากหลายสีสัน ใบอ่อนนั้นจะเป็นสีเขียวอ่อน ใบแก่จะเป็นสีเหลืองจนถึงสีน้ำตาล ต้นหูกวางจะผลัดใบในช่วงเดือนตุลาคม ถึงเดือนธันวาคม ซึ่งเป็นช่วงฤดูหนาว แต่บางครั้งอาจจะผลัดใบได้ตลอดทั้งปี

วิธีการปลูกต้นหูกวางนั้นจะใช้เมล็ดในการปลูกครับ โดยเมล็ดที่นำมาเพาะขยายพันธุ์นั้นจะต้องเป็นเมล็ดที่แก่ได้ที่  โดยเมล็ดที่แก่นั้นสามารถหาได้ในช่วงเดือนมิถุนายนถึงเดือนกรกฎาคม เมื่อได้เมล็ดมาแล้วก็ให้นำไปแช่น้ำก่อนปลูกประมาณ 7 วัน จากนั้นก็เตรียมดินโดยใส่ปุ๋ยคอกและแกลบเตรียมไว้ 7 วัน เช่นกัน หลังจากนั้นให้นำเมล็ดที่ได้มาเพาะไว้ในถุงเพาะพันธุ์  เมื่อเริ่มแตกเป็นต้นแล้วถึงค่อยย้ายลงดิน โดยดินที่นำมาผสมนั้นควรจะเป็นดินร่วนปนดินทราย ถึงจะทำให้ต้นหูกวางนั้นสามารถเจริญเติบโตได้ดี ส่วนวิธีการเก็บเกี่ยวนำไปขายนั้นหากเป็นการขายเพื่อนำไปใช้กับปลาสวยงามก็จะเลือกเก็บเฉพาะใบหูกวางแก่สีแดง น้ำตาล ม่วง เหลือง เท่านั้น เพราะจะมีสารแทนนินอยู่เยอะตรงต่อความต้องการของผู้บริโภค  เพียงเท่านี้ก็สามารถทำเป็นช่องทางธุรกิจอีกหนึ่งช่องทางได้แล้วครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook