สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ตัวห้ำ แมลงผู้ช่วยปราบศัตรูพืชจากธรรมชาติ

การเพาะปลูกพืชพันธุ์ต่างๆเพื่อไว้บริโภค หรือ ค้าขายในท้องตลาดของเกษตรกร การดูแลไม่ให้วัชพืช รวมทั้งแมลงศัตรูพืชต่างๆเข้ามาทำลายแปลงเพาะปลูก รวมทั้งผลผลิตที่ได้จากการเพาะปลูกนับว่าเป็นเรื่องที่สำคัญ เพราะหากผลผลิต หรือ พืชที่ปลูกมีวัชพืชและมีศัตรูพืชมากวนใจแล้วก็อาจทำให้ผลผลิตลดลงและเกิดความเสียหายต่อผลผลิตได้ด้วยครับ โดยวิธีการป้องกันกำจัดแมลงศัตรูพืชอาจทำได้ด้วยการใช้สารเคมีเป็นตัวช่วย แต่ก็ไม่ใช่ทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่ปลูกผักผลไม้แบบเกษตรอินทรีย์ที่จะต้องมีขั้นตอนการเพาะปลูกแบบปราศจากสารเคมีทุกชนิด เพราะอย่างนั้นแล้วการใช้วิธีการทางธรรมชาติ เพื่อกำจัดศัตรูพืชจึงเหมาะสมกับการเพาะปลูกทั้งยังลดต้นทุนการเพาะปลูกพืช และยังได้พืชและผลผลิตที่ปราศจากสารเคมีอีกด้วยครับ การนำ “ตัวห้ำ” หรือแมลงที่กินศัตรูพืชเป็นอาหารมาปล่อย หรือ เลี้ยงไว้ในแปลงเพาะปลูกจึงถือเป็นการกำจัดวัชพืชได้ง่ายๆตามธรรมชาติ

ตัวห้ำนั้นมีมากมายหลากหลายชนิด สามารถแบ่งประเภทตามการกินเหยื่อได้ โดยแบบแรกจะชอบเคลื่อนไหวล่าเหยื่อ เป็นแมลงที่มีขนาดใหญ่กว่าแมลงศัตรูพืชและมีขายาวเพื่อที่จะใช้ในการจับเหยื่อ เช่น ตั๊กแตนตำข้าว ที่มีรูปร่างแข็งแรง หรือจะเป็นแมลงที่มีความเร็วและสามารถจับเหยื่อได้อย่างรวดเร็วอย่างแมลงปอนั่นเอง ส่วนตัวห้ำอีกประเภท คือ ตัวห้ำที่ไม่ล่าเหยื่อเพียงแค่ออกหาอาหาร คอยกินไข่หรือตัวอ่อนของเหยื่อที่เคลื่อนไหวได้ช้าเท่านั้น เช่น ด้วงเพชรฆาต ด้วงเต่าลาย

ตัวห้ำที่เราสามารถพบเจอได้ง่ายและนิยมเลี้ยงเพื่อกำจัดศัตรูพืชนั้น ได้แก่ ตัวห้ำประเภทมวน เช่น มวนเพชรฆาตร เป็นมวนที่มีลำตัวสีน้ำตาลปนดำ ชอบดูดกินน้ำเลี้ยงในหนอน และแมลงศัตรูพืชบางชนิด เหมาะสำหรับเลี้ยงไว้ในแปลงผัก สวนไร่สวนพืชผลต่างๆได้ครับ ส่วนมวนอีกชนิดมีชื่อว่ามวนเขียวดูดไข่จะชอบกินไข่ของเพลี้ยแมลงศัตรูพืชต่างๆเป็นอาหาร เหมาะสำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรที่มีปัญหาเรื่องเพลี้ยในแปลงผัก ซึ่งสามารถนำแมลงชนิดนี้ไปปล่อยเพื่อลดศัตรูพืชให้มีปริมาณลดลงได้  และถ้าหากเป็นการเพาะปลูกผักในบริเวณน้ำขัง หรือ การทำไร่นา ตัวห้ำที่สามารถช่วยป้องกันและกำจัดศัตรูพืช โดยการกินศัตรูพืชที่อยู่บริเวณพืชที่ปลูกในน้ำขังและบริเวณที่มีน้ำอยู่ ได้แก่ มวนจิงโจ้น้ำ และมวนจิงโจ้น้ำกลาง ที่ชอบกินหนอน รวมทั้งเพลี้ยกระโดด เพลี้ยจั๊กจัน ไปจนถึงแมลงต่างๆ ที่มีขนาดเล็ก นอกจากนี้ก็ยังมีตัวห้ำประเภทด้วงที่อาศัยตามต้นไม้ต่างๆ ที่มีอากาศชื้น ชอบจับหนอนและเพลี้ยต่างๆ กินเป็นอาหาร รวมไปถึงแมงมุมที่คอยกินแมลงต่างๆ

หากเพื่อนๆเกษตรกรจะเพาะเลี้ยงตัวห้ำไว้ปล่อยในแปลงผัก สวนผลไม้ก็สามารถทำได้ครับ นอกจากจะประหยัดค่าใช้จ่ายแล้ว ยังได้พืชผักและผลไม้แบบอินทรีย์และปลอดสารพิษไปค้าขายตามท้องตลาดได้ราคาสูงอีกด้วยครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook