สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การทำฟาร์ม คืออะไร

หัวใจหลักของการทำฟาร์มคือการเพาะปลูกพืชผลและการเลี้ยงปศุสัตว์  เริ่มตั้งแต่การคัดเลือกเมล็ดพันธุ์ การปลูก การดูแลและการเก็บเกี่ยวพืชผล รวมไปจนถึงการจัดการสุขภาพสัตว์และการผลิตผลิตผลจากสัตว์ เป้าหมายของการทำฟาร์มคือการผลิตอาหารและผลิตผลทางการเกษตรอื่นๆ ที่จำเป็นต่อการอยู่รอดและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์และสัตว์ ซึ่งการทำฟาร์มนั้นมีมานานนับพันปี แต่กระบวนการต่างๆ  ได้พัฒนาไปอย่างมากตามกาลเวลาผ่านไป วิธีการทำฟาร์มสมัยใหม่เริ่มใช้เทคโนโลยีขั้นสูงและวิทยาศาสตร์เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของการทำงานเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพและผลผลิต ในขณะเดียวกันก็พยายามที่จะลดของเสียและผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม เพราะเจ้าของฟาร์มต่างเริ่มตระหนักถึงความสำคัญของสิ่งแวดล้อมเพิ่มมากขึ้น

การทำฟาร์มประเภทต่างๆ

การทำฟาร์มสามารถแบ่งตามประเภทของพืชหรือสัตว์ที่เป็นผลผลิตในแต่ละประเภท เช่น การเพาะปลูกพืช เช่น ธัญพืช ผลไม้ และผัก รวมทั้งการเลี้ยงสัตว์ เช่น วัว สุกร และสัตว์ปีก เพื่อให้ได้เนื้อ นม และผลิตภัณฑ์อื่น ๆ ของสัตว์มาใช้ประโยชน์ ซึ่งแต่ละประเภทมีเทคนิคและวิธีการดำเนินการที่แตกต่างกันมากมาย ตัวอย่างเช่น การเพาะปลูกพืชสามารถทำได้โดยใช้วิธีการดั้งเดิม เช่น การปลูกและการเก็บเกี่ยวด้วยมือ หรือวิธีการสมัยใหม่ เช่น การทำนาโดยไม่ไถพรวนและการเกษตรแบบแม่นยำ การทำฟาร์มปศุสัตว์มีตั้งแต่ฟาร์มครอบครัวขนาดเล็กไปจนถึงการดำเนินการเชิงพาณิชย์ขนาดใหญ่ที่ใช้เทคโนโลยีขั้นสูงเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการผลิต

การทำฟาร์ม กับ เกษตรกรรม

คำว่าการทำฟาร์มและเกษตรกรรมมักใช้แทนกันได้ แต่มีความหมายแตกต่างกันเล็กน้อย โดยทั่วไปแล้วการทำฟาร์มหมายถึงการเพาะปลูกพืชผลและเลี้ยงปศุสัตว์ในปริมาณไม่มาก โดยปกติจะทำในครอบครัวหรือชุมชนขนาดเล็ก โดยใช้วิถีการผลิตด้วยเทคนิคดั้งเดิม เช่น การลงมือปลูกและการเก็บเกี่ยว ด้วยแรงงานคน และอาจทำเพื่อการยังชีพหรือการบริโภคในท้องถิ่นเป็นหลัก รวมทั้งมีการรวมกลุ่มสมาชิกในชุมชนเพื่อทำการค้าเชิงพาณิชย์ขนาดเล็กที่เน้นการขายตรงถึงผู้บริโภค เช่น วิสาหกิจชุมชน เป็นต้น

ในทางกลับกัน เกษตรกรรมเป็นคำที่กว้างขึ้นซึ่งครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องกับการผลิตอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรอื่นๆ รวมทั้งการทำฟาร์มและกิจกรรมต่างๆ เช่น การวิจัยทางการเกษตร การตลาด การขนส่ง และการจัดจำหน่าย ดังนั้นการทำฟาร์มจึงอาจจะถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของกิจกรรมย่อยของเกษตรกรรม เพราะเกษตรกรรมจะครอบคลุมกิจกรรมทั้งหมดที่เกี่ยวข้องในการผลิตและจำหน่ายอาหารและผลิตภัณฑ์ทางการเกษตร ในขณะที่การทำฟาร์มนั้น เน้นเฉพาะการเพาะปลูกพืชผลและการเลี้ยงปศุสัตว์

ไม่ว่าจะใช้คำเฉพาะเรียกขานต่างกันอย่างไร แต่คำทั้งสองคำนี้มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อการผลิตอาหาร สมุนไพรและทรัพยากรที่หล่อเลี้ยงสังคมและเศรษฐกิจของมนุษย์ เป็นแหล่งอาหารที่สำคัญเพื่อให้เกิดความมั่นคงอาหาร ทำให้ประชากรก้าวข้ามคำว่าหิวโหยและทุพโภชนาไปได้ทั่วโลก

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook