สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ไผ่รวก พืชทนแล้ง

ไผ่รวก เป็นพืชที่เจริญเติบโตได้ดีในพื้นที่ราบและภูเขาที่ไม่มีน้ำท่วมขัง มักจะพบการกระจายพันธุ์ในประเทศไทยและประเทศเมียนมาร์ที่มีสภาพภูมิอากาศร้อน เป็นพืชที่ทนแล้งได้ดี ในประเทศไทยเรานี้จะมีลักษณะที่แตกต่างกัน 2 ชนิดใหญ่ๆ คือไผ่รวกเล็กที่มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น ราว 2-4 เซนติเมตร สูงระหว่าง 5-10 เมตร มักจะเป็นไผ่ที่เกิดในบริเวณที่แล้ง และ ไผ่รวกใหญ่ มีเส้นผ่านศูนย์กลางของลำต้น ราว 5-8 เซนติเมตร สูงระหว่าง 10-15 เมตรที่มักจะเติบโตในบริเวณที่มีความชุ่มชื้นสูง เช่น ป่าเบญจพรรณ เป็นต้น แต่ลักษณะโดยรวมจะมีกาบบางๆ แบบไม่มีครีบ หุ้มลำไผ่ไว้ติดแน่นมาก ลำไผ่มีสีเขียวแก่ มันขลับ เจริญเติบโตเป็นกอไผ่หนาแน่น ลำไผ่ขนาดใหญ่จะมีความคงทนมาก จึงมักนำมาทำเป็นโครงสร้างของเครื่องจักสาน ส่วนลำไผ่ขนาดเล็กนั้น จะนำไปใช้ในงานก่อสร้างและการเกษตร ส่วนเนื้อไม้ไผ่ที่แก่เต็มที่สามารถนำมาผลิตเป็นเยื่อกระดาษได้ ส่วนของหน่อไผ่ชนิดนี้เป็นส่วนที่รับประทานได้ เกษตรกรผู้ปลูกไผ่รวกจึงมักนำมาแปรรูปเป็นหน่อไม้ปี๊บ โดยการต้มหน่อแล้วบรรจุในปี๊บปิดสนิทเพื่อเป็นการถนอมอาหารและส่งไปจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ

สำหรับการขยายพันธุ์ไผ่รวกนั้น สามารถทำได้ทั้งการเพาะเมล็ด แยกกอ การปักชำกิ่งแขนงและลำไผ่ ซึ่งการปลูกด้วยเมล็ดจะเอื้อให้เราขยายพันธุ์ในปริมาณที่สูงได้ โดย้งนี้หากต้องการหใงใช้กิ่งที่มีอายุไม่น้อยกว่า 1-2 ปี เช่นกัน ่อรอให้กอนั้นสมบูรณ์พร้อมขยายพันธุ์ ขณะเดียวกัน การขยายพันธุ์ด้วเราควรเก็บเมล็ดที่แก่จัดที่ร่วงลงพื้นดินแล้ว และรีบนำไปเพาะในทันที เพราะอายุการเก็บรักษาเมล็ดพันธุ์ค่อนข้างสั้น ส่วนการแยกกอหรือเหง้านั้นต้องเลือกกอที่มีตาสมบูรณ์ มีอายุ 1-2 ปี ขณะเดียวกัน การขยายพันธุ์ด้วยการปักชำกิ่งแขนงและลำไผ่ ก็จำเป็นต้องใช้กิ่งที่มีอายุไม่น้อยกว่า 1-2 ปี เช่นกัน ทำให้โอกาสในการขยายพันธุ์จำนวนมากเป็นไปได้น้อย เพราะต้องใช้เวลาสูงเพื่อรอให้กอ กิ่งและลำไผ่นั้นสมบูรณ์พร้อมขยายพันธุ์

ช่วงเวลาที่เหมาะสมในการขยายพันธุ์ไผ่รวก คือ ช่วงต้นฤดูฝน ดังนั้นเราควรตระเตรียมดินรอล่วงหน้า โดยการไถขุดตอไม้ ปรับสภาพพื้นดินให้เหมาะสมต่อการปลูก แล้วจึงไถพรวนซ้ำอีกครั้ง การปลูกในช่วงต้นฤดูฝนนั้นจะเป็นการผ่อนแรงและต้นทุนในเรื่องการให้น้ำของเราได้ และต้นไผ่จะเจริญได้อย่างเต็มที่ โดยให้เว้นระยะประมาณ 4 เมตร ขนาดหลุมสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างและยาว 30 เซนติเมตร ลึก 50 ซนติเมตร และเทปุ๋ยคอกไว้ที่ก้นหลุมเพื่อกระตุ้นการเติบโตและเพิ่มอัตราการรอดของต้นไผ่ให้สูงมากขึ้น ในช่วงเริ่มต้นไผ่รวกที่เราปลูกจะทำหน้าที่สะสมธาตุอาหารให้เพียงพอต่อการเจริญเติบโต เมื่อสะสมได้มากและสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวย จึงจะเริ่มแตกตาและหน่ออ่อนขนาดเล็ก และใช้เวลาราว 3 ปีจึงจะเริ่มแตกหน่อที่สมบูรณ์อย่างต่อเนื่องที่เราสามารถเก็บเกี่ยวหน่อไผ่รวกไปผลิตแปรรูปเป็นหน่อไม้ปี๊บต่อไป

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook