สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมและเทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์

ประเทศไทยเป็นผู้ผลิตปศุสัตว์รายใหญ่ โดยมีโคนมเป็นองค์ประกอบสำคัญของอุตสาหกรรมนี้ ในปี 2561 ประเทศไทยมีจำนวนโคนมทั้งสิ้น 623,427 ตัว กระจายอยู่ในภาคเหนือ 90,096 ตัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ189,272  ภาคกลาง 339,841 และภาคใต้ 4,218 ตัว (สำนักเศรษฐกิจการเกษตร, 2561) นอกจากโคนมแล้ว ประเทศไทยยังเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้อง เช่น โคเนื้อ กระบือ แพะ แกะ จากสถิติพบว่าภาคเหนือมีสัตว์เคี้ยวเอื้องทั้งหมด 1,289,961 ตัว ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3,775,695 ตัว สัตว์เคี้ยวเอื้องในภาคกลาง 1,756,134 ตัว และสัตว์เคี้ยวเอื้องในภาคใต้ 1,203,703 ตัว รวมเป็น 8,025,493 ตัวทั่วประเทศ (กรมปศุสัตว์, 2561)

เนื่องจากการเลี้ยงสัตว์เคี้ยวเอื้องได้รับความนิยมเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ประเทศไทยจึงมีความต้องการใช้ข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์เพื่อเลี้ยงโคนมร้อยละ 100 จำนวน 267,282 ตัน ร้อยละ 80 จำนวน 213,825 ตัน ร้อยละ 60 จำนวน 160,369 ตัน ร้อยละ 40 จำนวน 106,913 ตัน ร้อยละ 40 จำนวน 53,456 ตัน ในปี 2561 (กรมปศุสัตว์, 2561) ขณะเดียวกันความต้องการผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ในประเทศก็สูงเช่นกัน จากการประมาณการผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์จะมีมากถึง 3,215,556 ตันต่อปี ขณะที่ประเทศไทยมีพื้นที่ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ในภาคเหนือ 4,682,925 ไร่ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 1,469,117 ไร่ และภาคกลาง 777,862 ไร่ รวม 6,929,904 ไร่ทั่วประเทศ  (สำนักวิจัยเศรษฐกิจการเกษตร, 2560) อย่างไรก็ตามชาวไร่ข้าวโพดประสบปัญหาราคาเมล็ดข้าวโพดตกต่ำไม่คุ้มกับการลงทุน การผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์จึงเป็นทางเลือกที่น่าสนใจสำหรับผู้ปลูกข้าวโพด โดยพิจารณาจากความต้องการข้าวโพดหมักที่สูงเนื่องจากการขาดแคลนอาหารหยาบสำหรับเกษตรกรผู้เลี้ยงโคนม โคเนื้อ กระบือ แพะ และ แกะ.

สวก.จึงได้สนับสนุนทุนวิจัยแก่คณะผู้วิจัยจากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เพื่อดำเนินการโครงการ “การพัฒนาพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมและเทคโนโลยีในการผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์” โดยมี ดร.อุทุมพร ไชยวงษ์ เป็นหัวหน้าโครงการ โดยคณะผู้วิจัยได้ศึกษาเพื่อคัดเลือกพันธุ์ข้าวโพดลูกผสมที่เหมาะ มีคุณภาพทางโภชนะ มีผลผลิตต้นรวมฝักสดสูง และพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและการเก็บเกี่ยวข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ที่เหมาะสมสำหรับผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยงปศุสัตว์ที่มีคุณภาพสูง เพื่อนำเทคโนโลยีและองค์ความรู้จากงานวิจัยเกษตรถ่ายทอดความรู้ให้แก่กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกข้าวโพดเลี้ยงสัตว์ ส่งเสริมการนำไปใช้ประโยชน์ในกระบวนการผลิตข้าวโพดเพื่อใช้ผลิตต้นข้าวโพดสดและข้าวโพดหมักสำหรับเลี้ยง เพื่อให้เกษตรกรมีผลกำไรมากขึ้นกว่าเดิม และเป็นการเพิ่มศักยภาพการผลิตพืชอาหารสัตว์เพื่อลดการนำเข้าจากต่างประเทศ ทำให้การทำปศุสัตว์มีความมั่นคงและยั่งยืนยิ่งขึ้น

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook