สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ระบบน้ำหยด ตัวช่วยในการทำเกษตร

ระบบน้ำหยด เป็นระบบการให้น้ำแก่พันธุ์พืชต่างๆ อย่างทั่วถึงและตรงจุด รวมทั้งเป็นการใช้น้ำอย่างคุ้มค่ามากยิ่งขึ้น ให้น้ำจำนวนเท่าเดิมแต่ทั่วถึงทั้งรากและใบของพืช และยังเป็นตัวช่วยที่ได้ผลดีในหน้าแล้งสำหรับเพื่อนๆ เกษตรกรทุกท่านอีกด้วยครับ โดยสามารถกะปริมาณน้ำไว้ได้ ลดการระเหยของน้ำที่จะระเหยออกไปโดยไม่จำเป็น นอกจากนี้การใช้ระบบให้น้ำพืชเลี้ยงแบบระบบน้ำหยดยังช่วยป้องกันในเรื่องของศัตรูพืช รวมทั้งโรคภัยต่างๆ ที่จะมาติดพืชพันธุ์ที่เราปลูกไว้ได้อีกด้วยครับ เพราะเป็นการให้น้ำเฉพาะพืชแต่ล่ะกลุ่ม อีกทั้งยังทำให้ดินชุ่มชื้นและอุ้มน้ำได้ดี แถมยังช่วยชะล้างดินอย่างสม่ำเสมอรวมทั้งเป็นการช่วยลดกรดในดินที่เป็นดินเค็มไปในตัวอีกด้วยครับ

ประโยชน์ของระบบน้ำหยดนั้นยังมีผลดีต่อด้านการลงทุน ไม่ว่าจะเป็นการช่วยลดแรงงานคนในการให้น้ำแก่พืชพันธุ์การเกษตร ลดค่าใช้จ่ายในส่วนของไฟฟ้าที่ใช้ในการดูดปั๊มน้ำ และยังลดต้นทุนในการเสียค่าใช้จ่ายในการกำจัดศัตรูพืชและโรคพืชต่างๆได้อีกด้วยครับ

ระบบน้ำหยดที่เราชอบใช้กันส่วนใหญ่ จะมี 2 แบบ แบบแรกคือระบบน้ำหยดฝังดิน จะเป็นระบบน้ำหยดที่ไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ โดยสามารถให้น้ำแก่พันธุ์พืชเฉพาะจุดที่ฝังท่อเอาไว้เท่านั้น ข้อดีคือสามารถให้น้ำไปพร้อมๆ กับการให้ปุ๋ยพืชได้ และยังเป็นระบบน้ำหยดที่สามารถให้น้ำได้ดีอีกด้วย แต่อายุการใช้งานนั้นคงมีไม่มากเท่าไหร่ อีกทั้งระบบนี้จะเหมาะกับพืชประเภทอ้อยหรือกลุ่มพืชไร่มากกว่า

ส่วนระบบที่สองนั้นคือระบบน้ำหยดบนดินโดยระบบนี้จะคุ้มค่าต่อการลงทุนมาก เพราะสามารถนำน้ำหมุนเวียนได้ถึง 50 ไร่เลยทีเดียว แถมยังสามารถเคลื่อนย้ายระบบหยดน้ำไปยังจุดต่างๆได้อีกด้วย และยังเป็นการใช้ทรัพยากรน้ำอย่างคุ้มค่าโดยสามารถให้น้ำได้ถึง 5 ไร่ต่อหนึ่งครั้งและสามารถให้ได้หลายครั้ง อายุการใช้งานการอยู่ที่ประมาณ 3 ปี ซึ่งถือว่าเป็นระยะยาวพอสมควรอีกด้วยครับ แต่ค่าใช้จ่ายอาจจะสูงหน่อยครับ แต่ถึงอย่างไรแล้วก็ถือว่าเป็นการลงทุนระยะยาว แต่ส่วนใหญ่ระบบน้ำหยดจะเหมาะกับเพื่อนๆ เกษตรกรที่ทำไร่ในที่โล่งและมีพื้นที่เพาะปลูกจำนวนมากมากกว่าครับ เพื่อลดต้นทุนแรงงานคน รวมทั้งทำให้ผลผลิตมีคุณภาพมากยิ่งขึ้นอีกด้วยครับ หากเพื่อนๆชาวเกษตรคนใดสนใจก็สามารถนำมาลองปรับใช้ในสวนไร่ของตัวเองกันได้รับรองว่าคุ้มค่าอย่างแน่นอนครับ

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook