สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่ https://tarr.arda.or.th/ปี 2565

ต้นทองหลาง

ต้นทองหลาง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Erythrina variegata Linn. ภาษาอังกฤษโดยทั่วไปเรียกชื่อสามัญว่า Coral Tree หรือ Tiger’s Claw เป็นหนึ่งในพืชตระกูลถั่ว (Fabaceae) มีดอกที่งดงามเป็นเอกลักษณ์ด้วยสีอดงเพลิงที่มองเห็นอย่างโดดเด่น บ้างก็มีสีแสด สีส้ม หรือสีขาว แต่ไม่ค่อยพบโดยทั่วไปมากนัก เป็นพืชที่มีถิ่นกำเนิดอยู่ในประเทศต่างๆ ในเอเชีย แอฟริกา ออสเตรเลีย และแพร่กระจายพันธุ์ไปยังประเทศที่มีภูมิอากาศอบอุ่น กึ่งร้อนถึงร้อนหลายแห่งทั่วโลก นิยมปลูกเป็นไม้ประดับและพืชสวน โดยพบได้ใน อินเดีย ศรีลังกา เมียนมาร์ ไทย กัมพูชา เวียดนาม มาเลเซีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์ นอกจากนี้ยังพบในบางส่วนของประเทศจีน ในแอฟริกา เกิดขึ้นตามธรรมชาติในประเทศต่างๆ เช่น เคนยา แทนซาเนีย โมซัมบิก มาดากัสการ์ และแอฟริกาใต้ ในออสเตรเลียพบใน Northern Territory, Queensland และ Western Australia

ต้นทองหลาง

ต้นทองหลาง เป็นพืชที่สามารถปรับตัวให้เข้ากับระบบนิเวศที่หลากหลาย พบได้ทั่วไปตามบริเวณชายฝั่ง รวมทั้งป่าชายเลนและบริเวณชายหาด นอกจากนี้ยังพบได้ในพื้นที่แห้งแล้ง เช่น ป่าละเมาะ และบริเวณกึ่งทะเลทราย นอกจากนี้ ยังสามารถพบได้ในป่าฝนเขตร้อนและกึ่งเขตร้อน ป่าเต็งรัง และริมฝั่งแม่น้ำ ชอบดินที่มีการระบายน้ำดี แต่สามารถทนต่อดินได้หลายประเภท เช่น ดินทราย ดินร่วน และดินเหนียว เติบโตได้ดีในพื้นที่ที่ได้รับแสงแดดเต็มที่ และสามารถทนต่อพื้นที่แดดรำไรได้เช่นกัน

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ของต้นทองหลาง เป็นไม้ผลัดใบ ที่มีความสูงเฉลี่ยระหว่าง 10-15 เมตร โตไว ทรงพุ่มแผ่ขยายทรงสูง ลำต้นคด สีเปลือกของลำต้นมีสีเทาเข้มหรือน้ำตาล มีรอยแตกและผิวไม่เรียบ ใบเป็นใบประกอบและออกเรียงสลับ ขอบใบเรียบ แผ่นใบสีเขียวเข้มและผิวใบมัน ใบเรียงกันคล้ายนิ้วมือ ออกดอกเป็นกระจุกขนาดใหญ่ เป็นดอกที่มีทั้งเพศผู้และเพศเมียในดอกเดียวกัน ผลมีลักษณะเป็นฝักแบบพืชตระกูลถั่วทั่วไป ฝักเป็นรูปทรงกระบอกยาวโดยจะมีสีเขียวเมื่อยังอ่อนแต่จะเริ่มเปลี่ยนสีน้ำตาลและเข้มขึ้นเรื่อย ๆ เมื่อมีอายุฝักมากขึ้น ความยาวของฝักสามารถยาวได้ถึง 30 เซนติเมตร ด้านในฝักมีเมล็ดขนาดเล็ดจำนวนมาก

ต้นทองหลางถูกนำมาใช้ประโยชน์หลายด้าน ทางด้านสมุนไพรนั้นถูกนำมาใช้ประโยชน์ในการรักษาตามแพทย์แผนโบราณมาช้านาน ในหลายพื้นที่ นำมาในเพื่อให้ออกฤทธิ์ต้านการอักเสบและยาแก้ปวด ฤทธิ์ต้านจุลชีพ รักษาบาดแผล รวมทั้งบรรเทาอาการทางเดินหายใจ เช่น หอบหืด หลอดลมอักเสบ และไอ  นอกเหนือจากคุณสมบัติทางยาแล้ว ยังมีความสำคัญทางวัฒนธรรม โดยนำดอกสีสดใสมาประดับพานบูชาและร้อยเป็นมาลัยบูชาในพิธีกรรมต่างๆ และถูกนำมาปลูกเป็นไม้ประดับสวนเพื่อใช้ร่มเงา นอกจากนี้ยังสามารถปลูกเพื่อบำรุงดิน ส่งเสริมสุขภาพของระบบนิเวศโดยรวม

สามารถสืบค้นผลงานวิจัยและองค์ความรู้การเกษตร ได้ที่  https://tarr.arda.or.th

พันธมิตร

Chulabook